จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 24 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2050, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีน้ำตาล, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรหริภุญชัย, บุคคล-พันยี่, บุคคล-พระครูเจ้าจุฬาภัยเถรเจ้า, พระมหาเถรโมฬี พุกาม, บุคคล-เจ้าล่าม, บุคคล-หมื่นสุวรรณ, บุคคล-เจ้าหมื่นน้อยคำ,

จารึกวัดเวฬุวันอาราม

จารึก

จารึกวัดเวฬุวันอาราม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566 09:18:50 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดเวฬุวันอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 18, ลพ./18, พช. 30, 352, หลักที่ 67 ศิลาจารึกวัดสันมะค่า จังหวัดลำพูน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2050

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 33 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีน้ำตาลออกเหลือง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 60 ซม. สูง 124 ซม. หนา 10 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 18”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./18, พช. 30, 352”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 67 ศิลาจารึกวัดสันมะค่า จังหวัดลำพูน”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกวัดเวฬุวันอาราม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดสันมะค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 160-165.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 51-52.

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นการเล่าเรื่องการสร้างวัดเวฬุวัน ของพันยี่ ได้อาราธนาชาวเจ้าสงฆ์ทั้งหลาย เช่น พระครูเจ้าจุฬาภัยเถรเจ้า ให้มาในอาราม (เวฬุวัน) กล่าวถึง มหาราช มหาเทวี ผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน ถวายกุศลในการสร้างวัดแด่มหาเทวี ณ ข่วงพระมหาธาตุฯ ต่อหน้าชาวเจ้าสงฆ์ทั้งหลายมีพระมหาสามีญาณโพธิ แห่งป่าแดงหลวง และพระมหาเถรสวรศรี วัดมหาโพธิ์ พระมหาเถรสุริยะ วัดเชียงโฉม พระญาณมงคลพุกาม วัดสีเสียด และพระมหาเถรโมลี (เมาฬี) พุกาม มีการให้ฝังจารึกไว้กับอารามนี้ (วัดเวฬุวัน) แล้วห้ามมิให้ผู้ใดมาทำการเบียดเบียน เพื่อจะให้อารามนี้มั่นต่อศาสนา 5,000 ปี กล่าวถึงผู้ที่ดำเนินการฝังจารึก คือ เจ้าล่าม หมื่นสุวรรณ เจ้าหมื่นน้อยคำได้กล่าวถึง สมเด็จบพิตรพระสวัสดิศรีธรรมจักรวรรดิ์มหาราช กับ พระราชมาตามหาเทวีแม่ลูกทั้งสอง หลักฐานที่ได้จากจารึกหลักนี้ ยืนยันถึงสถานที่เดิมซึ่งศิลาจารึกหลักนี้ปักอยู่คือ วัดเวฬุวัน ปัจจุบันนี้ได้แก่ วัดกู่เต้า ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่นั่นเอง และบรรดาวัดอื่นๆ ที่อ้างถึง พร้อมด้วยพระภิกษุทั้งหลายนั้น น่าจะเป็นเรื่องที่อยู่ในเขตของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย สำหรับพระนามของกษัตริย์และพระราชมาตามหาเทวีนั้น ควรเป็น พระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 2 ระบุ จ.ศ. 869 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2050 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดเวฬุวันอาราม,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 51-52.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 67 ศิลาจารึกวัดสันมะค่า จังหวัดลำพูน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 160-165.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)