จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดเวฬุวันอาราม

จารึก

จารึกวัดเวฬุวันอาราม ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2555 17:18:16

ชื่อจารึก

จารึกวัดเวฬุวันอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 18, ลพ./18, พช. 30, 352, หลักที่ 67 ศิลาจารึกวัดสันมะค่า จังหวัดลำพูน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2050

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 33 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ศุภมัตถัม” เป็นภาษามคธ แปลว่า ประโยชน์อันดีงาม
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 869 = พ.ศ. 2050
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปีเมิงเม้า, เมิงเหม้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีเถาะ นพศก ตามจุลศักราช
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เถิง = ถึง
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือนห้า = เดือนห้าของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือนสามของไทยฝ่ายใต้
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เปลิกสี, เปิกสี = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เม็ง = มอญ
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฤกษ์ = เวลาที่เป็นมงคล
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สัสถาวิส หรือ ศตภิษก= ชื่อฤกษ์ที่ 24 ได้แก่ดาวงูเลื้อย หรือ ดาวมังกร ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า “ศตภิษัช” ได้แก่ “ดาวพิมพ์ทอง”
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อุฬาระประสาทะ = ความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อาณา = อาชญา หรือ ความบังคับ
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มหามัตตะ = มหาอำมาตย์
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เจ้าหมื่น = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือกว่าตำแหน่งพันขึ้นไป
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ลวง = ด้าน หรือ ส่วน