โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกมหาสังฆราชาศรีตรีปิฎก |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลพ./๒๘, พช. ๑๒, ๓๔๒, ศิลาจารึก ลพ./๒๘ (๑๒) อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๒๑ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๑๓ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๘ บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทรายสีน้ำตาล ชำรุด ท่อนล่างหักหายไป |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง ๔๐ ซม. สูง ๔๔ ซม. หนา ๙ ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. ๒๘” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
จังหวัดเชียงราย |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน |
พิมพ์เผยแพร่ |
๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๗) : ๕๓-๕๕. |
ประวัติ |
- |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ส่วนใหญ่เป็นการกล่าวถึง การอุทิศถวายข้าพระ เพื่อรักษาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์ ที่สำคัญที่สุดที่ได้จากจารึกหลักนี้ ได้แก่บรรดาพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่จารึกนี้ได้ออกนามไว้ ตลอดจนวัดที่ท่านสถิตอยู่ อันน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ คือ พระมหาสังฆราชาศรีตรีปิฏกอุตมญาณเทพเจ้า ป่ารวก พระมหาเถรสุวรรณเจ้า ป่าลังคะ พระมหาเถรธรรมโรจิเจ้า จอมทอง พระมหาสามีนันทปัญญาเจ้า วัดหมื่นไร่ พระมหาสามีจันทรังสีปานสุมงคล พระมหาสามีเจ้า วัดพระยาร่วง พระมหาเถรอินทรปัญญา วัดศรีชุม นอกจากนี้ ยังมีพระเถระลำดับรองลงมาจากพระมหาเถรทั้งนั้นอีก น่าสังเกตว่าท่านเหล่านี้ใช้คำว่า “ธ” คือ ท่าน ซึ่งใช้เป็นคำนำหน้าพระภิกษุสงฆ์ในสมัยนั้น และคำนี้ต่อมาคงจะออกเสียงเป็น “ธุ” แล้วกลายมาเป็น “ตุ๊” หรือ “ตุ๊เจ้า” ในภาษาเมืองเหนือไป บรรดาท่านพระเถระที่มีคำว่า “ธ” นำหน้านาม มีดังนี้ ธ เป็นเจ้าศรี วัดพระคำ ธ เป็นเจ้าสรีบุต วัดสุมนกูฏ ธ เป็นเจ้าฝูงนี้รู้ทุกตน จากหลักฐานที่ได้จากศิลาจารึกหลักนี้ สังเกตจากชื่อวัดต่างๆ แล้ว ล้วนแต่อยู่ในเขตจังหวัดพะเยาบัดนี้ทั้งสิ้น ดังนั้น จารึกหลักนี้ควรจะอยู่ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงรายมาแต่เดิมนั่นเอง |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ศิลาจารึกหลักนี้ ท่อนบนได้ชำรุดหักหายไป จึงไม่มีศักราชบ่งบอกไว้ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๙, จาก : |