จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว

จารึก

จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 09:28:59 )

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./29, พช. 6, 340, จารึกพระเจ้าตนหลวง (เมืองพยาว), จารึกพระเจ้าตนหลวง, ลพ. 29

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2067

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 19 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 5 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อหยาบ สีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา ชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 46.5 ซม. สูง 61 ซม. หนา 5.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "ลพ. 29"
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น "ลพ./29, พช. 6, 340"
3) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น "จารึกพระเจ้าตนหลวง (เมืองพยาว)"
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น "จารึกพระเจ้าตนหลวง"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522), 70.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 348-353.

ประวัติ

กรมศิลปากร สำรวจเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1515

เนื้อหาโดยสังเขป

ในด้านที่ 1 ขึ้นต้นจารึกเป็นคำนมัสการแด่พระพุทธเจ้าด้วยภาษาบาลี ต่อจากนั้นได้กล่าวถึงศาสนาแห่งพระโคตมเจ้าล่วงพ้นไปแล้ว 2067 ปี ในด้านที่ 2 จารึกได้บ่งบอกถึงพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เรื่องที่ได้จากศิลาจารึกนี้ ที่น่าสังเกตก็คือ การใช้จุลศักราชและพุทธศักราชนั้นเป็นหลักฐานที่ตรงกับหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ดังที่ท่านผู้ชำระชี้แจงไว้ ส่วนพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในจารึกนี้ควรจะได้แก่พระเจ้าตนหลวง ที่วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา นั่นเอง เพราะทางภาคเหนือแล้วก็มีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดเพียงองค์เดียวเท่านั้น ประกอบกับหลักฐานที่พบศิลาจารึกหลักนี้ก็รับรองอยู่แล้วว่า พบที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาก็เคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงรายมาก่อน หากความเข้าใจดังนี้ไม่ผิด จารึกหลักนี้แต่เดิมก็ควรจะปักอยู่ที่วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นประวัติการก่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพระเมืองแก้ว ปีพุทธศักราช 2067

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 2 ระบุ จ.ศ. 885 ซึ่งตรงกับเกณฑ์ปีพุทธศักราช 2067 ตามแบบอย่างการนับปีพุทธศักราชของลังกา คือมากกว่าของไทย 1 ปี อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกพระเจ้าตนหลวง (เมืองพยาว),” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2522), 70.
2) เทิม มีเต็ม, “ลพ. 29 จารึกพระเจ้าตนหลวง,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 348-353.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538)