จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว

จารึก

จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:15

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าตนหลวงเมืองพยาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./29, พช. 6, 340, จารึกพระเจ้าตนหลวง (เมืองพยาว), จารึกพระเจ้าตนหลวง, ลพ. 29

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2067

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 19 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 5 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ตรวจ

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2538)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : นโม พุทธัสสะ = เป็นคำแสดงออกถึงความคารวะในเบื้องต้น ในที่นี้เป็นคำบาลีที่แสดงถึงคามคารวะต่อพระพุทธเจ้า แปลว่า “ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า”
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปีกาเม็ด = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะแม เบญจศก ตามจุลศักราช 2067
3. เทิม มีเต็ม : จุลสักขราชได้ 885 ตัว = จุลศักราช 885 ตรงกับเกณฑ์ปีพุทธศักราช 2067 ตามแบบอย่างการนับปีพุทธศักราชของลังกา ซึ่งมากกว่าของไทย 1 ปี
4. เทิม มีเต็ม : ข้อความจารึกตรงนี้ปรากฏข้อความแต่เพียงคำว่า “เขา (เข้า)” และต่อคำในบรรทัดที่ 4 ด้วยคำว่า “ไพแล้ว” ศิลาชำรุด ซึ่งน่าจะต่อด้วย “นิพพาน” รวมคำเป็นประโยคได้แก่ “เข้านิพพานไพแล้ว” หมายถึงศาสนาของพระโคตมล่วงไปแล้ว 2067 ปี
5. เทิม มีเต็ม : เดิน = เดือน (ข้อความต่อไปเป็นส่วนที่แผ่นศิลาชำรุดหักหายไป)
6. เทิม มีเต็ม : ข้อความต่อไปเป็นส่วนที่แผ่นศิลาชำรุดหักหายไป