จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1955, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พญาสามฝั่งแกน, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เชียงราย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ฝังศิลาจารึก, เรื่อง-การปักปันเขตแดน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา,

จารึกวัดเก้ายอด

จารึก

จารึกวัดเก้ายอด

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 16:28:35 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดเก้ายอด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 27 จารึกวัดเก้ายอด, ลพ./27, พช. 11, 338, 19/2541, ลพ. 27

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 1955

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 35 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา (หักชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43 ซม. สูง 66.5 ซม. หนา 7.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 27”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./27, พช. 11, 338”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2508), หนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “จารึกวัดเก้ายอด”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “ลพ. 27 จารึกวัดเก้ายอด”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “เลขวัตถุ 19/2541”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2517) : 76-79.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 67.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 72-79.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความที่จารึกนี้กล่าวถึง คือ การอุทิศส่วนกุศลในการสร้างวัดเก้ายอด ถวายแด่เจ้าเหนือหัวผู้ครองเมืองเชียงใหม่ในสมัยนั้น คือ พระเจ้าสามฝั่งแกน กล่าวถึงเจ้าสี่หมื่นพยาว (เมืองพะเยา) ให้คนมาฝังจารึกในวัดเก้ายอด บ่งบอกอาณาเขตของวัด โดยเอาบ้านพระยาร่วงและบ้านหมอช้างเป็นแดน จากข้อความเหล่านี้ จึงแน่ใจได้ว่า จารึกหลักนี้เป็นของที่อยู่ประจำกับวัดเก้ายอด และวัดนี้จะต้องอยู่ในเขตจังหวัดพะเยาปัจจุบันนี้อีกด้วย เพราะการอ้างถึง บ้านพระยาร่วงนั้นคงจะเป็นบริเวณที่ตั้งของวัดพระยาร่วง ในจังหวัดพะเยา ที่แห่งนี้ ได้ค้นพบจารึกศิลาจารึกกล่าวถึงวัดพระยาร่วง ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกกันว่า วัดบุญนาค

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ระบุ จ.ศ. 774 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1955 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1944-1984)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดเก้ายอด,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 67.
2) เทิม มีเต็ม, “ลพ. 27 จารึกวัดเก้ายอด,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 72-78.
3) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านจารึกวัดเก้ายอด ลพ./27 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย พ.ศ. 1919 ได้มาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญชัย ต. ในเมือง จ. ลำพูน,” ศิลปากร 18, 1 (พฤษภาคม 2517) : 76-79.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 3 มกราคม 2567