จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 24 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2032, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พญายอดเชียงราย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินแปร, วัตถุ-จารึกบนหินแปรสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายทองคำ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บรรจุพระธาตุ, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-พระราชเทวี, บุคคล-พระเถรมงคลพุทธิมา, บุคคล-แม่ของพระเถรมงคลพุทธิมา, บุคคล-เจ้าแม่ไณ,

จารึกวัดหนองหนาม

จารึก

จารึกวัดหนองหนาม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 14:28:14 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดหนองหนาม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./23, พช. 37, 349, หลักที่ 68 ศิลาจารึกวัดหนองหนาม จังหวัดลำพูน,ลพ. 23

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2032

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 38 บรรทัด แต่ละด้านมี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินแปรสีดำ

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 33.5 ซม. สูง 61 ซม. หนา 19 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 23”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./23, พช. 37, 349”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 68 ศิลาจารึกวัดหนองหนาม จังหวัดลำพูน”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกวัดหนองหนาม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดหนองหนาม ตำบลหนองหนาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 166-173.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 61.

เนื้อหาโดยสังเขป

ก. กล่าวถึงพระราชเทวี ให้ทองสักโกอันเกลือกด้วยทองคำ เป็นจำนวน 100 บาท เฟื้องคำ เพื่อใส่ยอดพระธาตุเจดีย์เจ้าที่วัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก พร้อมกับไว้คนอุปฐากพระเจ้า 10 ครัว
ข. อ้างถึงแม่ของพระเถรมงคลพุทธิมา หยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไว้ข้าพระ
ค. พระมหาเถรมงคลพุทธิมา สร้างวัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 851 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2032 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย (พ.ศ. 2030-2038)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดหนองหนาม,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 61.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 68 ศิลาจารึกวัดหนองหนาม จังหวัดลำพูน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 166-173.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)