จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดหนองหนาม

จารึก

จารึกวัดหนองหนาม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:15

ชื่อจารึก

จารึกวัดหนองหนาม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./23, พช. 37, 349, หลักที่ 68 ศิลาจารึกวัดหนองหนาม จังหวัดลำพูน,ลพ. 23

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2032

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 38 บรรทัด แต่ละด้านมี 19 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 951 ตรงกับ พ.ศ 2032
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ปีกัดเรา, ปีกัดเร้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีระกา เอกศก ตามจุลศักราช
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือนมฤคศิร = เดือนอ้าย
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เพ็ง = วันเพ็ญ คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : กัดไส้ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฤกษ์ = เวลาที่เป็นมงคล
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มฤคศิร = ชื่อฤกษ์ที่ 5 ได้แก่ดาวศีรษะเนื้อ
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทองสักโก = คำนี้น่าจะตรงกับคำไทยฝ่ายเหนือว่า “ทองจังโก๋” ซึ่งแปลว่าทองเหลืองที่ทำเป็นแผ่น
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำ = ทอง
12. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น “สย” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลฯ ได้ทำการแก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับตัวเขียน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าอักษรตัวหลังเป็นตัว “อย” ชัดเจน คำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “สอย” ซึ่งสามารถปริวรรตได้เป็น “สอย” หรือ “สร้อย” นั่นเอง
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น “นย” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลฯ ได้ทำการแก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับตัวเขียน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าอักษรตัวหลังเป็นตัว “อย” ชัดเจน คำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “นอย” และปริวรรตได้เป็น “น้อย”
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น “ชย” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลฯ ได้ทำการแก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับตัวเขียน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าอักษรตัวหลังเป็นตัว “อย” ชัดเจน คำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “ชอย” และปริวรรตได้เป็น “ช้อย”
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น “ยาด” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลฯ ได้ทำการแก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับตัวเขียน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าอักษรตัวหน้าเป็นตัว “อย” ชัดเจน คำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “อยาด” และปริวรรตได้เป็น “หยาด”
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หยาดน้ำ = กรวดน้ำ
17. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : อ้าย = ลูกชายคนที่หนึ่ง, พี่ชายคนโต
18. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น “ยาด” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลฯ ได้ทำการแก้ไขคำอ่านดังกล่าวให้สอดคล้องกับตัวเขียน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าอักษรตัวหน้าเป็นตัว “อย” ชัดเจน คำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “อยาด” และปริวรรตได้เป็น “หยาด”
19. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คโยม = ข้าหรือศิษย์วัด
20. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : ฝูง = พวก, หมู่
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไพ = ไป