จารึกเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายสร้างพระพุทธรูป

จารึก

จารึกเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายสร้างพระพุทธรูป

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 15:47:31 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายสร้างพระพุทธรูป

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 21, ลพ./21, พช. 16, 331, หลักที่ 66 ศิลาจารึกดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 846, ศิลาจารึก ลพ./21 อักษรไทย ภาษาไทย

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2027

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 22 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 16 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 46 ซม. สูง 115 ซม. หนา 9.5 ซม

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 21”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “ลพ./21, พช. 16, 331”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 66 ศิลาจารึกดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 846 (พ.ศ. 2027)”
4) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2517) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ลพ./21 อักษรไทย ภาษาไทย”
5) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายสร้างพระพุทธรูป”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ถ้ำพระ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย เชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 156-159.
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2517) : 15-17.
3) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 57-58.

เนื้อหาโดยสังเขป

ใน พ.ศ. 2027 พ่อหญัวเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายได้มาสร้างพระพุทธรูปในไว้ถ้ำนี้ ทั้งยังได้ชักชวนให้บรรดาข้าราชการทั้งหลายให้อุทิศข้าพระ ที่ดิน และเงิน ไว้เป็นของบูชาแด่พระพุทธรูป

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 846 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2027 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกเจ้าเมืองท้าวมุยเชียงรายสร้างพระพุทธรูป,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 57-58.
2) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 66 ศิลาจารึกดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 846 (พ.ศ. 2027),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 156-159.
3) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 66 ศิลาจารึกดอยถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 846 (พ.ศ. 2027),” ศิลปากร 18, 3 (กันยายน 2517) : 15-17.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2517)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 ธันวาคม 2566