จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2045, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เชียงราย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา-แสนญาณกัลยา, บุคคล-พ่ออยู่หัวแสนญาณกัลยา,

จารึกหัวแสนญาณกัลยากินเมืองพยาว

จารึก

จารึกหัวแสนญาณกัลยากินเมืองพยาว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 11:32:05 )

ชื่อจารึก

จารึกหัวแสนญาณกัลยากินเมืองพยาว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 19, จารึกวัดพญาร่วง, ศิลาจารึก ลพ./19 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย, จารึกหัวแสนกัลยากินเมืองพยาว,

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2045

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 18 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 4 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 54 ซม. สูง 85.5 ซม. หนา 17.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 19”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./19, พช. 32, 332”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน กำหนดเป็น “จารึกวัดพญาร่วง”
4) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 21 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2521) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ลพ./19 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
5) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกหัวแสนกัลยากินเมืองพยาว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดบุญนาค อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย (ข้อมูลจากการสำรวจของคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 31 กรกฏาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 21 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2521) : 90-93.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 53-54.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพ่ออยู่หัวแสนญาณกัลยา กินเมืองพะเยา และทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา แล้วได้กล่าวถึงชื่อ ตำแหน่งข้าราชการในครั้งนั้น เช่น เจ้าพันสีนาค พันมงคล หมื่นนาหลัง เป็นต้น ความจารึกในตอนสุดท้าย กล่าวถึง ถ้าผู้ไทยใด ไม่ไว้คนในจารึก ตามอาชญาพระเป็นเจ้า และกลับทำลายเสีย ขอให้มีแต่ความหายนะ ตายไปขอให้ตกนรก เรื่องที่ได้จากจารึกหลักนี้ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยา ที่มีเจ้าเมืองครอบครองอยู่ใน พ.ศ. 2045 มีชื่อว่า แสนญาณกัลยา ระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นรัชสมัยพระเมืองแก้ว ดังนั้น “ตามอาชญาพระเป็นเจ้า” ก็หมายถึงพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อันเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาสมัยนั้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 864 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2045 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกหัวแสนกัลยากินเมืองพยาว,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 53-54.
2) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก ลพ./19 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย จ.ศ. 864,” ศิลปากร 21, 6 (มีนาคม 2521) : 90-93.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 21 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2521)