จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 22 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2039, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนเสาสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เชียงราย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พญาสามฝั่งแกน, บุคคล-พญาสามฝั่งแกน,

จารึกวัดพระคำ

จารึก

จารึกวัดพระคำ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 14:20:33 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระคำ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 10, ลพ./10, พช. 10, 326, 32/18, 21/, 21/2541

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2039

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 89 บรรทัด จำนวน 4 ด้าน ด้านที่ 1, 2 และ 3 มีด้านละ 22 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 23 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงกระโจม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 35.5 ซม. สูง 160 ซม. หนา 28.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 10”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./10, พช. 10, 326”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “326/18”, “ลพ. 10”, "เลขวัตถุ 21/2541"
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “จารึกวัดพระคำ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 36-37.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 173-183.

ประวัติ

นายประสาร บุญประคอง, นายธูป นวลยง และ นายเทิม มีเต็ม เจ้าหน้าที่สำรวจเอกสารจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจ ทำสำเนา ถ่ายภาพ ทำประวัติ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อเดือนมีนาคม 2515 จารึกหลักนี้ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เรื่อยมา จนกระทั่งได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2541

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2039 พระราชมาดาของพระมหากษัตริย์ (พญาแก้ว) มีพระราชโองการมาถึงเจ้าเมืองพะเยาชื่อ ญี ซึ่งเป็นพระอัยกา เพื่อยืนยันกัลปนา มีคนและนา ที่พญาสามฝั่งแกน (เสวยราชย์ พ.ศ. 1944-1984) และคนอื่น เคยถวายไว้แด่วัดพระคำ ต่อมา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเมืองพะเยา ประชุมตกลงกันให้เป็นไปตามพระราชเสาวณีย์ และตั้งศิลาจารึกหลักนี้ขึ้น สุดท้ายเป็นรายชื่อของข้าทาสที่เป็นหนี้เงินของวัด ห้ามผู้ใดเอาข้าวัดออกไปใช้งานอื่น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 19 ระบุ จ.ศ. 858 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2039 อันเป็นต้นรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดพระคำ,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 36-37.
2) เทิม มีเต็ม, “จารึกวัดพระคำ,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 173-183.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 ธันวาคม 2566