อายุ-จารึก พ.ศ. 2039, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกสำนักปฏิบัติธรรมวังทองวังธรรม พะเยา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายพระพุทธรูป, บุคคล-มหาสามีศิลวิสุทธเจ้า,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 10:06:12 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดบ้านปาน |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
พย. 89 จารึกวัดบ้านปาน พ.ศ. 2039, พย. 89 |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 2039 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 29 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา ชำรุด แตกเป็น 3 ส่วน แต่นำมาต่อเข้าด้วยกัน |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 43 ซม. สูง 118 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 89” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
บ้านของเอกชน ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
สำนักปฏิบัติธรรมพุทธประธาน ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 243-245. |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ปี พ.ศ. 2039 มหาสามีศีลวิสุทธเจ้าได้สร้างวัด, อุโบสถ และปิฎก แล้วอุทิศส่วนบุญแก่มหาเทวีและพระอัยยิกาแห่งพระมหากษัตริย์ (น่าจะหมายถึงพระเมืองแก้ว ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 2038-2068) ทั้งสองพระองค์ได้อุทิศพระพุทธรูปทองสำริดองค์หนึ่งและข้าพระจำนวน 10 ครัว แก่วัดบ้านปาน |
ผู้สร้าง |
พระมหากษัตริย์ (น่าจะหมายถึงพระเจ้าเมืองแก้ว ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 2038-2068), มหาเทวี และพระอัยยิกา |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านขวาของวงดวงชาตา จ.ศ. 858 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2039 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-25, ไฟล์; PY 89 side 1.photo 1 และ PY 89 side 2.photo 1) |