จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม

จารึก

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 15:06:49 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2566 14:29:07 )

ชื่อจารึก

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 55 ศิลาจารึกอักษรขอมภาษาไทย ณ กรุงพุกาม

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 22

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลาประเภทหินทราย สีแดง

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา หรือทรงกลีบบัว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 45 ซม. สูง 75 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 55 ศิลาจารึกอักษรขอมภาษาไทย ณ กรุงพุกาม”

ปีที่พบจารึก

ประมาณวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2502

สถานที่พบ

กรุงพุกาม ประเทศพม่า

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑ์กรุงพุกาม ประเทศพม่า

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (พฤษภาคม 2503) : 72-76.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 104-108.
3) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 56 ฉบับที่ 4 (กันยายน-ตุลาคม 2556) : 55-65.

ประวัติ

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกามหลักนี้ เป็นจารึกที่ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านแปลและทำคำอธิบายศัพท์ไว้แล้วในวารสารศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 และในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ของคณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยในการพิมพ์ทั้ง 2 ครั้ง มีผู้รู้ในวงจำกัด ทางกรุงพุกามยังไม่มีผู้ใดทราบเรื่อง จนกระทั่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 หัวหน้าภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์กรุงพุกาม ได้ขอความอนุเคราะห์จาก อาจารย์จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ (หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ขณะนั้น) ให้ช่วยดำเนินการหาข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของจารึก เพื่อนำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาวิชาจารึกให้กว้างขวางต่อไป
ต่อมา อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้พิจารณาเห็นว่า จารึกหลักนี้ขุดพบที่พุกาม จึงใช้ชื่อจารึกใหม่ให้ตรงตามแหล่งที่พบจารึกว่า “จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม”

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาจารึกกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ทำทานโดยการถวายที่นาและข้าพระให้แก่วัดตอนท้ายมีการสาปแช่งผู้ใดก็ตามที่เข้ามาเบียดบังบุกรุกที่ดินนั้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากลักษณะรูปอักษรซึ่งมีลักษณะเส้นอักษรเหมือนกับรูปอักษรที่ใช้อยู่ในระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม,” ศิลปากร 56, 5 (กันยายน-ตุลาคม 2556) : 55-65.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาไทย ณ กรุงพุกาม,” ศิลปากร 4, 1 (พฤษภาคม 2503) : 72-76.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 55 ศิลาจารึกอักษรขอม ภาษาไทยณ กรุงพุกาม,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 104-108.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566