จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม

จารึก

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 เวลา 15:39:22

ชื่อจารึก

จารึกอักษรขอมภาษาไทยพบที่กรุงพุกาม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 55 ศิลาจารึกอักษรขอมภาษาไทย ณ กรุงพุกาม

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 22

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2503)
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2556)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2503)
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2556)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ศุภมัสดุ = ขอความดีงามจงมี
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นักษัตร = ปี
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : วิสาข = เดือนหก
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ฉัฐมีเกิด, ฉัฐมี ภาษาบาลีแปลว่าที่หก, เกิด ภาษาเขมรใช้เรียกดิถีในปักษ์ข้างขึ้น, ฉัฐมีเกิด = ขึ้น 6 ค่ำ
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อาทิตยวาร = วันอาทิตย์
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ศุภมหุรดี = ฤกษ์งามยามดี
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : _____คำที่ชำรุดน่าจะเป็น “ถวายคน”
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นา_____อคำนี้น่าจะเป็น “นาหมื่นซื้อ” คือพวกขุนนางซื้อ
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นาหมื่น, ราชปลัด เป็นตำแหน่ง = ปี
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โคน หรือ ประโคน = เสาใหญ่ที่มีปักหมายเขตแดน
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เนา ภาษาเขมรแปลว่า อยู่
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ต่อเท่าดล = ตราบเท่าถึง (ดล ภาษาเขมรแปลว่า ถึง)
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เบียน = รบกวน
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : บัดนั้น = ทันใดนั้น
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สัมฤทธิ์ = สำเร็จ
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ออก เป็นคำนำหน้าชื่อผู้เป็นใหญ่เพื่อแสดงความยกย่อง
17. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ศุภมัสดุ = ขอความดีความงามจงมี
18. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : นักษัตร = ปี
19. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : วิสาข = เดือนหก
20. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ฉัฐมีเกิด = ขึ้น 6 ค่ำ
21. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : อา _____น่าจะเป็น อาทิตย์
22. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : _ภมหุรดี น่าจะเป็น ศภมหุรดี หมายถึง เวลาอันเป็นมงคลยิ่ง, ฤกษ์งามยามดี
23. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ทานบุญ = ทำความดีด้วยการให้
24. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : สังฆราชา = ผู้เป็นใหญ่ฝ่านสงฆ์
25. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ตำบลโมชฬะ = ชื่อสถานที่
26. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : แดนนา = เขตนา, ที่นา
27. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : หมื่นราชมนตรี = ชื่อข้าราชการ หรือขุนนาง ในหนังสือกฎหมายตราสามดวง เรื่อง ตำแหน่งนาพลเรือน มีชื่อปรากฏ 2 แห่ง คือ
(1) หลวงราชมนตรี เจ้าท่า ได้ว่าแขกประเทศอังกฤษ ญวน ฝรั่ง นา 800
(2) ขุนราชมนตรี กรมตะพุ่น นา 400
28. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เถิง = ถึง
29. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : โคน = เสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดน ประโคน ก็เรียก
30. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พยัญชนะตัว น มีเครื่องหมายขีดกลางตัวพยัญชนะ หมายถึง ไม่ใช้
31. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ต่อเท่าดล = ตราบเท่าถึง, จนถึง
32. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : นฤพาน = นิพพาน
33. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ประโคน = เสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดน
34. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พระธรณี = เทพผู้รักษาแผ่นดิน
35. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พระจตุโลกบาล = เทพผู้รักษาโลกทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ ท้าวธตรฐ รักษาทิศตะวันออก ท้าววิรูฬหก รักษาทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาทิศเหนือ
36. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : อินทราธิราช = เทพผู้รักษาแผ่นดิน
37. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : มหาบุรุษ = ผู้เป็นใหญ่, ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่
38. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พระพุทธเจ้าเกิดมา = ในที่นี้หมายถึง มีพระพุทธเจ้าตรัสรู้
39. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เท่าทราย = ในที่นี้หมายถึง จำนวนเท่าเม็ดทราย, จำนวนมากเสมอด้วยเม็ดทราย
40. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : สี่สมุทร = มหาสมุทรที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ ทั้ง 4 สมุทร ได้แก่ ปีตสาคร ขีรสาคร ผลิกสาคร และนิลสาคร
41. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : บันดาล = ทำให้เกิดขึ้น
42. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : จม = ตก
43. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : มหาอพิจีนรก = มหาอวิจีนรก หรือ อเวจีมหานรก เป็นชื่อนรกใหญ่ขุมสุดท้ายใน 8 ขุม ได้แก่ สัญชีพนรก กาลสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุปนรก มหาโรรุปนรก ตาพพนรก มหาตาพพนรก และมหาอวิจีนรก
44. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ดุจดัง = ดุจดัง, เช่นเดียวกับ
45. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เทพทัณฑ์ = โทษของเทวดา
46. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เบียน = ทำให้เดือดร้อน
47. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : บ่รู้จักกี่ร้อยใน = ไม่รู้ว่ามีจำนวนกี่ร้อยเรื่องราว, ไม่รู้ว่ากี่ร้อยความ
48. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : รื้อ = ทำลาย
49. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ขบ = กัด
50. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ชีวาเอา = เอาชีวิต, ในที่นี้หมายถึง ตาย
51. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : เอาชีวี = ทำให้ตาย, ถือเอาชีวิต
52. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : สรีระ = ร่างกาย
53. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : พระเจ้า = ร่างกาย
54. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : อนุโมทนา = ยินดีด้วย, พลอยยินดี
55. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : สาธุ = ดุจดัง, ดีแล้ว, ชอบแล้ว
56. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ออกขุนแก้ว = ชื่อข้าราชการ หรือขุนนาง ในหนังสือกฎหมายตราสามดวง เรื่องตำแหน่งนาพลเรือนมีชื่อปรากฏในกรมช่างดอกไม้เพลิงว่า ขุนแก้ว เจ้ากรมขวา นา 300
57. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ขุนทองรักษ = ชื่อข้าราชการ หรือขุนนาง ในหนังสือกฎหมายตราสามดวง เรื่องตำแหน่งนาพลเรือนมีชื่อปรากฏในกรมช่างดอกไม้เพลิงว่า ขุนทอง เจ้ากรมซ้าย นา 300