จารึกพระธรรมกาย

จารึก

จารึกพระธรรมกาย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 15:47:42 )

ชื่อจารึก

จารึกพระธรรมกาย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 54 ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ, ศิลาจารึกพระธรรมกาย พ.ศ. 2092, พล. 2

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 2092

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม (หักชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 48 ซม. สูง 33 ซม. หนา 4.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. 2”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 54 ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกพระธรรมกาย พ.ศ. 2092”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/11/2560"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระเจดีย์วัดเสือ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้พบ

นายคุ้ม

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2504) : 54-58.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 99-103.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 277-281.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ นายคุ้ม ขุดพบที่พระเจดีย์ วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก หลักฐานหรือรายละเอียดเกี่ยวกับวันเดือนปีที่พบ ไม่ปรากฏ

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความที่จารึก ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ตรวจสอบในหนังสือพระธรรมกายาทิ เป็นเรื่อง พระธรรมกาย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 3 ระบุ พุทธศักราช 2092

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกภาษาไทยและมคธ เรื่องพระธรรมกาย,” ศิลปากร 5, 2 (กรกฎาคม 2504) : 54-58.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกพระธรรมกาย พุทธศักราช 2092,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 277-281.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 54 ศิลาจารึกพระธรรมกาย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 99-103.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-16, ไฟล์; PL_001)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566