จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระธรรมกาย

จารึก

จารึกพระธรรมกาย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2564 13:10:55

ชื่อจารึก

จารึกพระธรรมกาย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 54 ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ, ศิลาจารึกพระธรรมกาย พ.ศ. 2092, พล. 2

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 2092

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้แปล

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “มหาศักราช 1470” ตรงกับ พ.ศ. 2093
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “มาฆมาส” คือ เดือนสาม
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เอกดิถีเกิด” คือ ขึ้นหนึ่งค่ำ
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ศุกรวาร” คือ วันศุกร์
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เชษฐฤกษ์” เป็นดาวฤกษ์ที่ 18 คือ ดาวช้างใหญ่
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เพลาอุษาโยค” คือ เวลาใกล้รุ่ง
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ชา” คำเขมร คือ เป็น
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ลุ” คือ ฉลุ
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ข้อความตรงนี้ในหนังสือพระธรรมกายาทิ เขียนลำดับพระจักษุไว้ดังนี้ คือ “ทิพฺพจกฺกขุ ปญฺญาจกฺกขุ สมนฺตจกฺกขุ พุทฺธจกฺกขุ ธมฺมจกฺกขุ” เป็นพระจักษุ 5 ประการด้วยกัน แต่ในศิลาจารึกหลักนี้มีเนื้อที่สำหรับเขียนชื่อพระจักษุได้แต่เพียง 4 ประการเท่านั้น คือ “ . . . . ธมฺมจกฺกขุ สมนฺตจกฺกขุ ปญฺญาจกฺกขุ และตรงศิลาแตกนั้นน่าจะเป็น “พุทฺธจกฺกขุ” เพราะอยู่หน้า ธมฺมจกฺกขุ
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ต่อจากคำว่า “ทิพฺพ” ปรากฏในหนังสือพระธรรมกายาทิว่า “โสตญาณ” คือ ทิพฺพโสตญาณ”