อายุ-จารึก พ.ศ. 1900, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 19, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายแป้ง, วัตถุ-จารึกบนหินดินดาน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-ประวัติศาสตร์สุโขทัย, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พุทธศาสนา, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างรอยพระพุทธบาท, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ประดิษฐานพระธาตุ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ปลูกพระศรีมหาโพธิ, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระมหาธรรมราชาที่ 1, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พระมหาธรรมราชาที่ 1,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 17:03:20 )
ชื่อจารึก |
จารึกนครชุม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 3 จารึกนครชุม, กพ. 1 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศักราช 1900 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 136 บรรทัด จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 78 บรรทัด และด้านที่ 2 มี 58 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทรายแป้ง แทรกสลับกับหินดินดาน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 47 ซม. สูง 193 ซม. หนา 6 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพ. 1 (กพ./1)” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2464 |
สถานที่พบ |
วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร |
ผู้พบ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมพงศาวดาร ภาค 1 เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2499), 17-26. |
ประวัติ |
เดิมไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพยายามสืบหาอยู่เป็นเวลานาน จนเมื่อ พ.ศ. 2464 พระองค์เสด็จกลับจากเชียงใหม่มาประทับที่เมืองกำแพงเพชร จึงได้ความจากพระครูธรรมาธิมุตมุนี (ศรี) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ซึ่งอยู่ในวัดมา 40 ปีเศษ ยังจำได้เมื่อศิลาหลักนี้อยู่ในวัด และยังมีฐานทำด้วยแลงอันมีขนาดพอเหมาะกับศิลาหลักนี้อยู่จนเดี่ยวนี้ จึงได้ทราบว่า ศิลาหลักนี้เดิมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุ ริมแม่น้ำปิง ข้างทิศใต้ หน้าเมืองกำแพงเพชร ที่วัดนี้แต่ก่อนมีพระเจดีย์ 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย ฝีมือครั้งพระธรรมราชาที่ 1 แต่ปัจจุบันเป็นรูปพระเจดีย์พม่า เพราะรัฐบาลได้อนุญาตให้คนพม่า ชื่อพญาตะกา ซ่อมเมื่อ 30 ปีเศษแล้ว บางทีจะเป็นพระเจดีย์องค์นี้เองที่ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกนครชุมนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เมืองนครชุม ซึ่งในศิลาจารึกหลักที่ 8 เรียกว่า นครพระชุม เดิมคงอยู่ริมแม่น้ำปิงทิศตะวันตก ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดพระบรมธาตุปัจจุบันนี้ จารึกนครชุมหลักนี้ได้นำมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 พร้อมกับรูปพระอิศวร (หลักที่ 13) ที่นายรัสต์มัน ชาวเยอรมันได้พบที่ศาลพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร และได้ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานจนถึง พ.ศ. 2451 จึงได้ส่งมายังหอพระสมุดฯ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระยาฦๅไทยคือพระธรรมราชาที่ 1 ได้ประดิษฐานพระศรีรัตนมหาธาตุและได้ปลูกพระศรีมหาโพธิ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป เรื่องนี้มีในด้านที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1-14 และตั้งแต่บรรทัดที่ 15-63 กล่าวถึงเรื่องสัทธรรมอันตรธาน 5 และเป็นคำตักเตือนสัตบุรุษให้รีบเร่งทำบุญกุศลเมื่อพระพุทธศาสนายังมีอยู่ ตั้งแต่บรรทัดที่ 64 ถึงด้านที่ 2 เป็นคำสรรเสริญพระเจ้าธรรมราชาที่ 1 ว่าเป็นกษัตริย์ผู้ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมและเป็นธรรมิกะมหาราช ที่สุดกล่าวถึงศิลาจารึกและรอยพระพุทธบาทต่างๆ ที่พระธรรมราชาทรงสร้าง ในหัวเมืองต่างๆ ในอาณาเขตของพระองค์ |
ผู้สร้าง |
พระมหาธรรมราชาที่ 1 |
การกำหนดอายุ |
จารึกนครชุมได้จารึกเมื่อมหาศักราช 1279 ปีระกา (พ.ศ. 1900) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565 |