จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกนครชุม

จารึก

จารึกนครชุม ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:57:18

ชื่อจารึก

จารึกนครชุม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 3 จารึกนครชุม, กพ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1900

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 136 บรรทัด จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 78 บรรทัด และด้านที่ 2 มี 58 บรรทัด

ผู้อ่าน

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2521)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ยอร์ช เซเดส์ : “พฤฒิบาศศาสตร์” ศาสตร์หนึ่งของพราหมณ์พวกหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้างและปัดเสนียดจัญไร
2. ยอร์ช เซเดส์ : “มาออก” มาขึ้น
3. ยอร์ช เซเดส์ : “เหียม” เพราะเหตุ, มูลเหตุ
4. ยอร์ช เซเดส์ : “คนที” คือ บ้านโคน อำเภอเมืองกำแพงเพชร
5. ยอร์ช เซเดส์ : “พระบาง” คือ เมืองนครสวรรค์
6. ยอร์ช เซเดส์ : “หาเป็นขุนหนึ่ง” หากเป็นขุนหนึ่ง, ที่เป็นขุนหนึ่ง
7. ยอร์ช เซเดส์ : “เชียงทอง” คือ เมืองร้าง ในหนังสือของลาลูแบร์ ว่าอยู่ในระหว่างเมืองตากกับเมืองกำแพงเพชร
8. ยอร์ช เซเดส์ : “กโรม” (คำเขมร) ข้างใต้
9. ยอร์ช เซเดส์ : “ลาง” ไทยใหญ่ใช้เรียก “ขนุน” ลาวใช้เรียก มะพร้าวเปลือกหนาชนิดหนึ่ง
10. ยอร์ช เซเดส์ : “ไพร่ฟ้าข้าไทย” ประชาชนพลเมือง, บริพารลูกเจ้าลูกขุน
11. ยอร์ช เซเดส์ : “ลุน” ภายหลัง
12. ยอร์ช เซเดส์ : “ข้ำ” ข่มขี่, รังแก
13. ยอร์ช เซเดส์ : “แก่กม” ที่สุด
14. ยอร์ช เซเดส์ : “สระหลวง” เป็นเมืองแฝดกับสองแคว คือ พิษณุโลก
15. ยอร์ช เซเดส์ : “หั้น” นั้น
16. ยอร์ช เซเดส์ : “จอมเขาสุมนกูฏบรรพต” คือ เขาสุมนกูฏบรรพต ในสิงหล (ศรีลังกา)
17. ยอร์ช เซเดส์ : “จอมเขาสุมนกูฏ” คือ เขาพระบาทใหญ่เมืองสุโขทัย ตั้งชื่อตามเขาสุมนกูฏในสิงหล (ศรีลังกา)
18. ยอร์ช เซเดส์ : “พระบาทเหนือจอมเขานางทอง” เดิมอยู่ที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ส่งลงมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2466 เวลานี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
19. ยอร์ช เซเดส์ : “เขาที่ปากพระบาง” ทุกวันนี้เรียกว่าเขากบ เมืองนครสวรรค์ รอยพระบาทยังอยู่บนเขานั้น แต่ตัวหนังสือชำรุดอ่านไม่ได้