จารึกเจดีย์น้อย

จารึก

จารึกเจดีย์น้อย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 14:35:47 )

ชื่อจารึก

จารึกเจดีย์น้อย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 40 ศิลาจารึกเจดีย์น้อยวัดพระมหาธาตุ, หลักที่ 40 พิเศษ, ศิลาจารึกเจดีย์น้อย พุทธศตวรรษที่ 20-21, สท. 14

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20-21

ภาษา

สันสกฤต, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 57 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 29 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 28 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินแปร

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 52 ซม. สูง 66 ซม. หนา 9 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 14”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 40 ศิลาจารึกเจดีย์น้อยวัดพระมหาธาตุ”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 40 พิเศษ”
4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกเจดีย์น้อย พุทธศตวรรษที่ 20-21”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/308/2550rdquo;

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2499

สถานที่พบ

เจดีย์น้อย ด้านหน้าเจดีย์ 5 ยอด วัดพระมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

หน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 6 กันยายน 2566)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน 2497) : 67-70.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 42-46.
3) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 1-5.
4) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 335-344.

ประวัติ

ศิลาจารึกเจดีย์น้อย มีจารึกอักษรสุโขทัย ภาษาไทย 54 บรรทัด คือ จารึกด้านที่ 1 บรรทัด 1 ถึง 29 และจารึกด้านที่ 2 บรรทัด 1 ถึง 25 ส่วนด้านที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 26 ถึง 28 เป็นจารึกอักษรขอมสุโขทัย ภาษาสันสกฤต จารึกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2099) ศิลาจารึกหลักนี้ชำรุดแตกหักเป็นหลายชิ้น ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น คือ ด้านที่ 1 มี 1 ชิ้น ด้านที่ 2 มี 2 ชิ้น หน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดพบที่เจดีย์น้อยด้านหน้าเจดีย์ 5 ยอด ทางด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 2 ชิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2497 ส่วนอีก 1 ชิ้น นายบุญธรรม พูนสวัสดิ์ ได้มอบให้กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2497 ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านและอธิบายคำจารึกด้านที่ 1 ซึ่งได้นำลงตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2497 เป็นครั้งแรก ต่อมาได้นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2500, 2515 และ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2508 ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2510 นายประสาร บุญประคอง เจ้าหน้าที่ผู้อ่านจารึก พบว่าแผ่นศิลาจารึกเจดีย์น้อย ด้านที่ 2 มีจารึกอักษรอยู่อีกหลายบรรทัดแต่มีคราบปูนเกาะอยู่แน่น จึงใช้กรรมวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ ล้างคราบปูนที่เกาะอยู่ออกได้หมด แล้วถ่ายถอด อ่าน แปล และอธิบายเพิ่มเติมขึ้น นำลงตีพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2513 ให้ชื่อว่า “หลักที่ 40 พิเศษ”

เนื้อหาโดยสังเขป

ถวายคำสัตย์ต่อสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัยและไทยสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20-21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัย : ชิ้นที่ 1-2 พบที่เจดีย์น้อย หน้าเจดีย์ 5 ยอด ด้านใต้ของวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ชิ้นที่ 3 ปลัดบุญธรรมให้,” ศิลปากร 8, 6 (พฤศจิกายน 2479) : 67-70.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 14 ศิลาจารึกเจดีย์น้อยวัดพระมหาธาตุ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 40-46.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “ศิลาจารึกเจดีย์น้อย พุทธศตวรรษที่ 20-21,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 335-344.
4) ประสาร บุญประคอง, ประเสริฐ ณ นคร, และแสง มนวิทูร, “หลักที่ 40 พิเศษ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 1-5.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-17, ไฟล์; St_1401_c) และ St_1402_c)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566