จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 23:55:25 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 35, ย. 3, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 24

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้ลงรักปิดทอง

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

ฐานกว้าง 26 ซม. สูง 5 ซม. (ความสูงของพระพุทธรูปรวมฐาน 63 ซม.)

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 35”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน กำหนดเป็น “ย. 3”
3) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง”

ปีที่พบจารึก

พ.ศ. 2523

สถานที่พบ

วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตื๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 272-273.

ประวัติ

นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันสำรวจโบราณวัตถุในจังหวัดน่าน 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 2-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปจำนวน 43 องค์ จารึกบนหีบพระธรรม 3 ใบ และจารึกบนบานประตูวิหาร 2 บาน จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัย อักษรฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา สำหรับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง ถูกพบตั้งแต่การสำรวจครั้งแรก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2523 โดยมีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ “เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

เนื้อหาโดยสังเขป

พ่อเจ้าฟ้าหลวงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเป็นที่กราบไหว้ของคนและเทวดา โดยขอให้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน

ผู้สร้าง

พ่อเจ้าฟ้าหลวง (เจ้าอัตถวรปัญโญ?)

การกำหนดอายุ

เทิม มีเต็ม กำหนดอายุไว้ว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24 โดยพิจารณาจากสรรพนาม “พ่อเจ้าฟ้าหลวง” ที่ปรากฏในจารึกซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงเจ้าอัตถวรปัญโญ ดังที่พงศาวดารเมืองน่านระบุว่าได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าเมื่อ พ.ศ. 2348 สรรพนามของพระองค์ที่ปรากฏในจารึกอื่นๆ เช่น จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง เรียกว่า “พระยาหลวง” และจารึกหีบพระธรรม วัดบุญยืน เรียกว่า “มหาราชหลวง”

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์  ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
เทิม  มีเต็ม, “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง,” ใน เมืองน่าน :  โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 272-273.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530)