จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 14:45:29

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 35, ย. 3, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 24

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม  มีเต็ม : “พ่อเจ้าฟ้าหลวง” ในที่นี้คงหมายถึงเจ้าอัตถวรปัญโญ ซึ่งพงศาวดารเมืองน่านระบุว่าได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าเมื่อ พ.ศ. 2348 สรรพนามที่ใช้เรียกแทนตัวท่านมีทั้งคำว่า “พระยาหลวง” (จารึกที่ฐานพระพุทธรูป วัดศรีบุญเรือง) และ “มหาราชหลวง”(จารึกหีบพระธรรม วัดบุญยืน)
2. เทิม  มีเต็ม : “หื้อเป็นที่” หมายถึง ให้เป็นที่
3. เทิม  มีเต็ม : “ตราบ” แปลว่า ถึง
4. พันธุ์ทิพย์  ธีระเนตร : “วรรษา” หมายถึง ปี
5. พันธุ์ทิพย์  ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ”เป็น “ปจฺจโย โหตุ”แต่หลักการปริวรรตที่ใช้ในโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย จะถ่ายถอดตามรูปอักษร ดังนั้นทางโครงการฯ จึงพิมพ์เป็น “ปจฺจเยาเหาตุ”ตามรูปอักษรที่ปรากฏในจารึก แล้วจึงใช้เป็น “ปจฺจโย โหตุ”ในส่วนของคำอ่าน
6. เทิม  มีเต็ม : “นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ” แปลว่า ขอจงเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน, ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน