จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา

จารึก

จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2567 13:21:45 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 44, พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา พ.ศ. 2014, พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่น กระทำพระ

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2014

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 19 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 10 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 19 ซม. สูง 40.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 44”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา พ.ศ. 2014”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่น กระทำพระ”

ปีที่พบจารึก

ประมาณปี พ.ศ. 2527

สถานที่พบ

วัดสวนดอก บ้านห้วยลึก ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 6 นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดศรีโคมคำวรวิหาร

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 183-184.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 58-63.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่สายงานจารึกฯ (นายเทิม มีเต็ม, นายจำปา เยื้องเจริญ, นายบุญเลิศ เสนานนท์) งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจ ทำสำเนาจารึก ทำทะเบียนประวัติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2529

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงเจ้าสี่หมื่นที่ได้สร้างพระพุทธรูป และเจ้ามหาราชกับมหาเทวีที่ได้ทำทานด้วยการอุทิศที่นา ในปีรวงเหม้า

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 2 ระบุข้อความว่า “ในปีรวงเหม้า” ปีรวงเหม้า อาจเป็น พ.ศ. 2014, พ.ศ. 2074 หรือ พ.ศ. 2134 แต่เทียบกับจารึก พย. 47 และ พย. 52 ควรเป็น พ.ศ. 2014 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030) (ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดให้เป็น พ.ศ. 1954 ทั้งนี้เนื่องมาจาก ฮันส์ เพนธ์ พิจารณาว่าข้อความในศิลาจารึกหลักนี้มีความสอดคล้องกับความในศิลาจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (ลพ. 9) จึงวิเคราะห์ว่า ปีรวงเหม้าในบรรทัดที่ 2 ของศิลาจารึกหลักนี้ ตรงกับ พ.ศ. 1954 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1944-1984))

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่นสร้างพระพุทธรูปและเจ้ามหาราชอุทิศที่นา พ.ศ. 2014,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 183-184.
2) เทิม มีเต็ม, “พย. 44 จารึกเจ้าสี่หมื่น กระทำพระ,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 58-63.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-22, ไฟล์; PY 44 side 1.photo 1 และ PY 44 side 2.photo 1)