จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา

จารึก

จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 18:26:55 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 29, พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา พ.ศ. 2047, พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสน

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2047

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 26 บรรทัด ด้านละ 13 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 28 ซม. สูง 97 ซม. หนา 29 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 29”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา พ.ศ. 2047”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดร้าง (เขตติดต่อกับวัดเมืองชุม) ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดลี ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 165-166.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 259-264.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2520

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2047 พ่อหญัวเจ้าหัวแสนญาณกัลยา เจ้าเมืองพะเยา ได้ให้ฝังศิลาจารึกไว้เพื่อประกาศห้ามไม่ให้ผู้ที่กระทำความผิด เข้าไปในวัด

ผู้สร้าง

พ่อหญัวเจ้าหัวแสนญาณกัลยา

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 866 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2047 อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. 2038-2068) (ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น พ.ศ. 868 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2049)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสนญาณกัลยา พ.ศ. 2047,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 165-166.
2) เทิม มีเต็ม, “พย. 29 จารึกเจ้าหัวแสน,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 259-264.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-22, ไฟล์; PY 29 side 1.photo 1 และ PY 29 side 2.photo 1)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 1 ธันวาคม 2566