จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 15:39:59 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 76 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง, 6 วัดเจดีย์หลวง, ชม. 76

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2025

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด (รอบฐานพระพุทธรูป)

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 111 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 76 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดเจดีย์หลวง”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “6 วัดเจดีย์หลวง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 65.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ในบริเวณฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน 2 บรรทัด ข้อความต่อเนื่องกันโดยเริ่มจากใต้พระหัตถ์ขวา ตอนต้นเป็นคาถาย่ออริยสัจ 4 ซึ่ง สุภาพรรณ ณ บางช้าง (พ.ศ. 2529) กล่าวว่าความนิยมในการสร้างจารึกแสดงคาถาดังกล่าว ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา

เนื้อหาโดยสังเขป

ตอนต้นเป็นคาถาย่ออริยสัจ 4 ภาษาบาลี จากนั้นกล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ในจุลศักราช 844 โดย (นาย) ธันบี? ซึ่งขอให้ตนได้เป็นอัครสาวกของพระพระเมไตรยเจ้า

ผู้สร้าง

(นาย) ธันบี?

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 844 ตรงกับ พ.ศ. 2025 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนส์, “6 วัดเจดีย์หลวง,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 65.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)