จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ

จารึก

จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 12:43:40 )

ชื่อจารึก

จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 52

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 1919

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นลาน

ขนาดวัตถุ

กว้าง 2.02 ซม. ยาว 24.05 ซม. หนา 0.1 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 52”
2) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2484

สถานที่พบ

บริเวณฐานพระประธาน ในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุ สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 385-388.

ประวัติ

จารึกลานทองนี้ อยู่ในความดูแลของกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตลอดมา เมื่อปี พ.ศ. 2524 ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร พยายามค้นหาจารึกลานทองนี้ และสอบถามไปยังกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จนกระทั่งพบเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2525 เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะ ลายเส้นอักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกลานทองนี้แล้ว ทำให้ทราบว่า รูปอักษรที่ใช้จารึกภาษาไทยนั้น คือรูปอักษรสุโขทัยและรูปอักษรจารึกภาษาบาลีนั้น คือรูปอักษรธรรมล้านนา ฉะนั้นนอกจากจะได้หลักฐานที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรล้านนาแล้ว ยังทำให้ทราบว่า ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 20 นั้น รูปอักษรธรรมล้านนามีใช้อยู่แล้วในอาณาจักรล้านนา และได้มีการนำมาใช้กับภาษาบาลีแทนอักษรขอมในอาณาจักรสุโขทัยด้วย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ อักขรวิธีของอักษรธรรมล้านนา มีรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับใช้กับภาษาบาลี มากกว่าอักษรไทย และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้อักษรขอม จึงได้นำอักษรธรรมล้านนามาใช้แทนนั่นเอง

เนื้อหาโดยสังเขป

พระมหาเถรจุฑามุณิ สร้างวิหาร ประดิษฐานพระธาตุ พระพุทธประติมา และพระอถารส

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

การได้พบรูปอักษรธรรมล้านนาในจารึกลานทอง พ.ศ. 1919 ทำให้ต้องยืดกาลกำเนิดแห่งรูปแบบอักษรธรรมล้านนาขึ้นไปอีกถึง 89 ปี เพราะหลักฐานเดิมที่พบอยู่แล้วนั้นเก่าที่สุดเพียงแค่ พ.ศ. 2008 ซึ่งจารึกอยู่ที่แท่นฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ วัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อนำรูปลักษณะแห่งเส้นสัณฐานของอักษรธรรมล้านนาที่จารึกขึ้นในปี พ.ศ. 1919 มาเปรียบเทียบกับรูปอักษรที่จารึกขึ้นใน พ.ศ.2008 และ พ.ศ.ใกล้เคียง แล้วจะเห็นได้ว่า รูปอักษรแม้จะต่างเวลากันถึงเกือบ 100 ปีก็ตาม แต่ลักษณะเส้นสัณฐานยังคงอยู่ในรูปแบบอันเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้ทราบได้แน่ชัดว่า ในยุคต้นแห่งการกำเนิดของรูปอักษรธรรมล้านนานั้น การเปลี่ยนแปลงในรูปลักษณะแห่งลายเส้นอักษรมีน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ พุทธศักราช 1919,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 385-388.

ภาพประกอบ

ภาพจำลองอักษรจาก : จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526)