จารึกที่ซุ้มพระพุทธรูปเงินวัดทุงยู

จารึก

จารึกที่ซุ้มพระพุทธรูปเงินวัดทุงยู

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 15:00:47 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ซุ้มพระพุทธรูปเงินวัดทุงยู

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

236 วัดทุงยู, ชม. 135

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2479

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

โลหะแผ่นกลม มีจารึก 9 บรรทัด และด้านหน้าของฐานซุ้มพระพุทธรูปมีจารึกจำนวน 1 บรรทัด

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 135”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “236 วัดทุงยู”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดทุงยู ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

จากการสำรวจโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 พระครูสมุห์ บุญเรือง เจ้าอาวาสวัดทุงยูได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ปรากฏซุ้มพระพุทธรูปดังกล่าวที่วัดแห่งนี้แล้ว

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 191-192.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ที่ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเงินปางสมาธิ โดยปรากฏใน 2 ตำแหน่งคือ จารึกบนแผ่นโลหะกลมด้านบนของซุ้มจำนวน 9 บรรทัด และจารึกบริเวณด้านหน้าของฐานซุ้มพระพุทธรูปซึ่งมีจำนวน 1 บรรทัด จากข้อความในจารึกทั้ง 2 ส่วนทำให้ทราบว่าซุ้มพระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 หรือก่อนหน้านั้น โดยมีการซ่อมใน พ.ศ. 2479 ข้อมูลในหนังสือ “คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่” ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2519 ระบุว่าในขณะนั้นพระพุทธรูปในซุ้มเหลืออยู่จำนวน 49 องค์จาก 60 องค์ตามที่ปรากฏในจารึก พระพุทธรูป 48 องค์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสูงเท่ากันทั้งหมด คือ 26 ซม. ส่วนอีก 1 องค์เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่กว่าคือ มีความสูง 35 ซม. และมีลักษณะต่างจากองค์อื่นๆ ดร. ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูป 48 องค์ที่เหลืออยู่ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าน้อยเทพวงศ์พอกเพื่อเป็นพระพุทธรูปคู่อายุส่วนอีก 1 องค์เป็นพระพุทธรูปเก่าที่พระสงฆ์ 2 รูป คือ ธุอภิวงศ์ และ ธุศรีวิชัยทำการลงรักปิดทองดังข้อความในจารึก

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2479 เจ้าน้อยเทพวงศ์พอกสร้างพระพุทธรูปเงิน 60 องค์เพื่อเป็นพระพุทธรูปคู่อายุ โดยมีพระอภัยสารทวัดทุงยูและลูกศิษย์ช่วยหล่อและสร้างซุ้มประดิษฐาน ตอนท้ายกล่าวถึงประวัติของพระพุทธรูปอีก 28 องค์ว่าถูกสร้างขึ้นมาแต่เดิมและมีการลงรักปิดทองโดยพระสงฆ์ 2 องค์ คือ ธุอภิวงศ์และธุศรีวิชัยเมื่อ พ.ศ. 2478

ผู้สร้าง

เจ้าน้อยเทพวงศ์พอกและพระอภัยสารท

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏในจารึกคือ พ.ศ. 2479 ในรัชกาลพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “236 วัดทุงยู,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 191-192.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)