จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2108, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า-พระนางวิสุทธเทวี, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดชัยพระเกียรติ เชียงใหม่, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พระพุทธเมืองรายเจ้า, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-หล่อพระพุทธรูป, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-พระศรีอารยเมตไตรย, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-เจ้าทัพไชยสังราม,

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 09:17:06 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 54 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1, 22 วัดชัยพระเกียรติ์, ชม. 54

อักษรที่มีในจารึก

พม่า

ศักราช

พุทธศักราช 2108

ภาษา

ไทย, พม่าโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 14 บรรทัด (อักษรพม่าด้านหน้าฐาน 3 บรรทัด และ อักษรธรรมล้านนาด้านหลังของพระพุทธรูป 11 บรรทัด)

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 241 ซม. ขึ้นไป (เนื่องจากฐานพระพุทธรูปฝังอยู่ใต้ชุกชี จึงไม่ทราบความสูงที่แน่นอน)

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “ชม. 54 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “22 วัดชัยพระเกียรติ์”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดชัยพระเกียรติ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ภายในวิหารวัดชัยพระเกียรติ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 98-102.

ประวัติ

บริเวณด้านหน้าของฐานพระพุทธรูปองค์นี้ มีจารึกอักษรและภาษาพม่า จำนวน 3 บรรทัด จารึกในส่วนอื่นๆเป็นอักษรธรรมล้านนาทั้งหมด ได้แก่ บริเวณใต้พระชานุขวาเป็นดวงฤกษ์ ใต้พระชานุซ้ายเป็นดวงฤกษ์ ศักราช และหรคุณ สำหรับข้อความจารึกจำนวน 8 บรรทัดอยู่ในบริเวณด้านหลังของพระพุทธรูป

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติการสร้างพระพุทธรูป คือ ในจุลศักราช 927 เจ้าทัพไชยสังรามจ่าบ้าน ร่วมกับเสนาอามาตย์ และราษฎรทั้งหลาย ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปต่างๆ ที่ชำรุด มาหล่อรวมกันเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว มีพระนามว่า “พระพุทธเมืองรายเจ้า” นอกจากนี้ยังสร้างรั้วลงชาด ปิดทองคำล้อมพระมหาเจดีย์ ตอนท้ายเป็นคำอธิษฐาน ขอให้ตนได้ไปเกิดในสวรรค์ ทันพระศรีอาริยเมไตรย และถึงแก่นิพพาน เป็นต้น

ผู้สร้าง

เจ้าทัพไชยสังรามจ่าบ้าน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 927 (พ.ศ. 2108) ในรัชกาลของพระนางวิสุทธิเทวี (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2107-2121) สมัยที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2139)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “22 วัดชัยพระเกียรติ์,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 98-102.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)