จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1 ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 04:31:13

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 54 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 1, 22 วัดชัยพระเกียรติ์, ชม. 54

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, พม่า

ศักราช

พุทธศักราช 2108

ภาษา

ไทย, พม่า

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 14 บรรทัด (อักษรพม่าด้านหน้าฐาน 3 บรรทัด และ อักษรธรรมล้านนาด้านหลังของพระพุทธรูป 11 บรรทัด)

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ และกอร์ดอน ลูซ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ และกอร์ดอน ลูซ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฮันส์ เพนธ์ : “ศรีศุภมัสตุ” หมายถึง (ขอ) ความเจริญสุขจงมี (แด่ท่านทั้งหลาย)
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 927 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2108 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าปก ครองล้านนา (ระหว่างพ.ศ. 2101-2139)
3. ฮันส์ เพนธ์ : “กัมโพชพิสัย” หมายถึง ตามวิธีการนับแบบกัมโพช (ขอม)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีดับเป้า” คือ ปีฉลู สัปตศก
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กัตติกามาส” ทางภาคเหนือ คือ เดือนยี่ ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศุกลปักษ์” หมายถึง ข้างขึ้น เช่นเดียวกับคำว่า “ออก” เช่น ออก 3 ค่ำ = ขึ้น 3 ค่ำ
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “รวายยี” ในที่นี้เป็นชื่อวันในรอบ 60 วันตามแบบไทยโบราณ
8. ฮันส์ เพนธ์ : “ยามกลองแลง” คือ ช่วงเวลา 13.30-15.00 น.
9. ฮันส์ เพนธ์ : “สมเด็จพระธรรมิกราชาธิราชเจ้า เจ้าช้างเผือกหอคำตนประเสริฐลาเลิศอุตตมกว่าท้าวพระยาทั้งหลาย” หมายถึง เจ้าฟ้าบยินยอง (บุเรงนอง) กษัตริย์พม่า
10. ฮันส์ เพนธ์ : “เจ้าทัพไชยสังรามจ่าบ้าน” ไม่ทราบว่าเป็นใคร ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึง ส่วนในพงศาวดารโยนกมีเพียงว่า “ให้ขุนนางรามัญเปนข้าหลวงกำกับเมือง” (หน้า 307) ตามนี้เห็นได้ว่า เจ้าทัพ (แม่ทัพ) มีเชื้อชาติมอญ และอาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีคำจารึกภาษามอญอยู่ด้วย
11. ฮันส์ เพนธ์ : “คุณ” อาจจะหมายถึง “คุณ 108” คือ 56 อย่างของพระพุทธเจ้า 38 อย่างของพระธรรม 14 อย่างของพระสงฆ์
12. ฮันส์ เพนธ์ : “หื้อ” = ให้
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) สันนิษฐานว่า การที่จารึกใช้คำว่า “เหง้า” อาจหมายความว่า พระมหาเทวีองค์นี้สืบเชื้อสายมาจากพญามังราย และคงจะเป็นพระนางวิสุทธิเทวี ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2107-2121 เนื่องจากเมื่อ พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้าบยินยอง (บุเรงนอง) ทรงมาตีเมืองเชียงใหม่ซึ่งพญาเมกุฏิเป็นผู้ครองอยู่ กษัตริย์พม่าทรงตั้งให้พญาเมกุฏิเป็นผู้ครองอย่างเดิม แต่เชียงใหม่ต้องเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อถึง พ.ศ. 2107 พญาเมกุฏิเป็นกบฏ เจ้าฟ้าบยินยองทรงกลับมาตีเมืองเชียงใหม่อีกหนหนึ่ง และส่งพญาเมกุฏิไปเมืองหงสาวดี จากนั้นได้ตั้งพระนางวิสุทธิเทวีขึ้นครองแทนพญาเมกุฏิ แต่มีกองทัพพม่าอยู่ประจำเชียงใหม่ 1 ปีหลังจากนั้น แม่ทัพพม่า (สังรามจ่าบ้าน) ที่กษัตริย์พม่าให้มาอยู่ประจำเชียงใหม่ จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น สรัสวดี อ๋องสกุล (พ.ศ. 2544) สันนิษฐานว่า พระนางวิสุทธิทรงเป็นธิดาของพระเมืองเกศเกล้า เดิมชื่อ พระตนคำ หลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว โอรสของพระนางกับบุเรงนอง คือ “มังนรธาช่อ” ได้ครองเชียงใหม่แทน ต่อมามังนรธาช่อได้ส่งราชบุตรไปครองเมืองฝาง ลำปางและน่าน ซึ่งถือเป็นการสร้างเครือข่ายทางการเมืองในล้านนาโดยอาศัยระบบเครือญาติ
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สันนท” และ “ช้าย” เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกแล้วพบว่า พยัญชนะต้นเป็นรูป “ฉ” และ “ซ” ตามลำดับ จึงควรเป็น “ฉันนท” และ “ซ้าย”
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “รอม” หมายถึง รวม, ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) อธิบายว่า ข้อความในจารึก หมายถึง หลังจากที่ได้เก็บรวบรวมพระพุทธรูปหลายองค์ที่ชำรุดแตกหัก ก็นำมาหลอมและหล่อรวมกันใหม่ เป็นพระพุทธรูปองค์เดียว คือ องค์นี้
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หมื่นหนังสือ” เป็นตำแหน่งขุนนางล้านนาในระดับกลางที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “บุษยมาส” ทางภาคเหนือคือเดือนสี่ ตรงกับเดือนมกราคม
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สนนฺท” และ “ช้าย” เมื่อพิจารณาจากภาพจารึกแล้วพบว่า พยัญชนะต้นเป็นรูป “ฉ” และ “ซ” ตามลำดับ จึงควรเป็น “ฉนนฺท” และ “ซ้าย”
19. ฮันส์ เพนธ์ : “เม็ง” คือ มอญ ในที่นี้หมายถึง ตามวิธีการนับแบบมอญ
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กาบเส็ด” ในที่นี้เป็นชื่อวันในรอบ 60 วันตามแบบไทยโบราณ
21. ฮันส์ เพนธ์ : “ยามตูดซ้าย” คือ เวลา 12.00-13.30 น.
22. ฮันส์ เพนธ์ : ทอง คือ ทองสำริด ศาสตราจารย์ลูซ แปลจากข้อความจารึกภาษาพม่าและมอญว่า “5000 (?) วิส” ซึ่งคิดว่าจะต้องอ่าน “2000” ตาม Hobson-Johnson (“vis”) 1 วิส ประมาณ 1.5 กก.
23. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ลวด” ในที่นี้ หมายถึง แล้ว
24. ฮันส์ เพนธ์ : “พระพุทธเมืองรายเจ้า” (เมืองรายคือมังราย) พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1839 การที่เปิดนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธเมืองรายเจ้า” อาจเป็นเพราะเหตุต่อไปนี้พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า เมืองราย (มังราย) การที่มีนามเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากเหตุผล 2 ประการ ได้แก่ (1) แม่ทัพสังรามจ่าบ้าน มีความประสงค์ที่จะถวายพระเกียรติ์แก่พญามังรายและพระมหาเทวีเจ้าซึ่งเป็นเชื้อสายของพญามังรายเอง (พงศาวดารโยนก หน้า 307) (2) แม่ทัพสังรามจ่าบ้าน มีความประสงค์ที่จะถวายพระเกียรติ์แก่วิญญาณของพญามังรายซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระเสื้อเมืองของเมืองเชียงใหม่เพื่อไถ่โทษและให้วิญญาณของพญามังรายไม่คิดโกรธแค้นทัพพม่า ซึ่งสังรามจ่าบ้านเป็นแม่ทัพอยู่ มาตีเมืองเชียงใหม่ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ผู้ที่มาบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จะบูชาพระพุทธรูปและพญามังรายในเวลาเดียวกัน
25. ฮันส์ เพนธ์ : “ลำเจียงหางไสคำ” คือ รั้ว(ลง)ชาดปิดทองคำ
26. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “แวด” หมายถึง ล้อม
27. ฮันส์ เพนธ์ : “พระมหาเจดีย์เจ้า” ไม่ทราบว่าเป็นเจดีย์หลวงที่เชียงใหม่ หรือ เจดีย์ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัด ลำพูน
28. ฮันส์ เพนธ์ : “เวียงแก้ว” หมายถึง เทวโลก
29. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อริยเมไตรยา” หรือ พระศรีอารย์ เป็นอนาคตพุทธเจ้าซึ่งจะลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าหลังจากองค์ปัจจุบันปรินิพพานไปแล้ว 5,000 ปี
30. ฮันส์ เพนธ์ : “กระกูล” = ตระกูล
31. ฮันส์ เพนธ์ : “ขอหื้อบวชข้าด้วยว่าเอหิภิกขุ” หมายถึง ขอให้ (พระองค์) บวช (ข้าพเจ้า) โดย (กล่าว) ว่า “เอหิภิกขุ” ซึ่งแปลว่า จงมาเป็นภิกษุเถิด
32. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “รอด” แปลว่า ถึง