จารึกวัดช้างค้ำ 1

จารึก

จารึกวัดช้างค้ำ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 14:09:24 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดช้างค้ำ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 3, หลักที่ 74 ศิลาจารึกพบที่วัดช้างค้ำ, นน. 3 จารึกวัดช้างค้ำ พ.ศ. 209, นน. 3 จารึกพระยาพลเทพฤาชัย, ศิลาจารึกอักษรไทยฝ่ายเหนือ : จ.ศ. 910 (พ.ศ. 2091) ได้มาจากวัดช้างค้ำ ต. เวียง อ. เมือง จ. น่าน,

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2091

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 39 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 21 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. ยาว 66 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) หอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “นน. 3 จารึกพระยาพลเทพฤาชัย”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2503) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรไทยฝ่ายเหนือ : จ.ศ. 910 (พ.ศ. 2091) ได้มาจากวัดช้างค้ำ ต. เวียง อ. เมือง จ. น่าน”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 74 ศิลาจารึกพบที่วัดช้างค้ำ”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “นน. 3 จารึกวัดช้างค้ำ พ.ศ. 2091”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2503) : 53-58.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 202-206.
3) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 57-60.

เนื้อหาโดยสังเขป

พระยาพลเทพฦาชัยได้บูรณะพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในวัดหลวงกลางเวียงในจุลศักราช 910 โดยขอให้ได้มีปัญญาแตกฉาน ตอนท้ายระบุถึงจำนวนเงินที่ใช้ในการบูรณะและคำอุทิศส่วนกุศลแด่เทวดา, ครอบครัว, ญาติพี่น้อง, บรรพบุรุษ และสรรพสัตว์ทั้งปวง

ผู้สร้าง

พระยาพลเทพฦาชัย

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ “จุลศักราชได้ 910 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2091

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก:
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรไทยฝ่ายเหนือ : จ.ศ. 910 (พ.ศ. 2091) ได้มาจากวัดช้างค้ำ ต. เวียง อ. เมือง จ. น่าน,” ศิลปากร 4, 4 (พฤศจิกายน 2503), 53-58.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 74 ศิลาจารึกพบที่วัดช้างค้ำ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 202-206.
3) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “นน. 3 จารึกวัดช้างค้ำ พ.ศ. 2091,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 57-60.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-29, ไฟล์; นน.3 ด้าน1 และ นน.3 ด้าน2.รูป1)