จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดช้างค้ำ 1

จารึก

จารึกวัดช้างค้ำ 1 ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 04:19:56

ชื่อจารึก

จารึกวัดช้างค้ำ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 3, หลักที่ 74 ศิลาจารึกพบที่วัดช้างค้ำ, นน. 3 จารึกวัดช้างค้ำ พ.ศ. 209, นน. 3 จารึกพระยาพลเทพฤาชัย, ศิลาจารึกอักษรไทยฝ่ายเหนือ : จ.ศ. 910 (พ.ศ. 2091) ได้มาจากวัดช้างค้ำ ต. เวียง อ. เมือง จ. น่าน,

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2091

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 39 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 21 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2503)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2503)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “……ญาณ” ข้างหน้าคำว่าญาณ คือ อรหัตตมัคค
2. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ปฏิสัมภิทาญาณ” หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในทางไหวพริบ
3. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “เสี้ยง” หมายถึง หมด, สิ้น
4. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “คำ” หมายถึง ทอง
5. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “แต้ม” หมายถึง วาด, เขียน
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่านเป็น เสี่ยว โดยแปลว่า สหชาติ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า “ผู้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน, ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรในรอบเดียวกัน” สำหรับการอ่านโดย โครงการวิจัยการปริวรรตฯ อ่านเป็นเสี้ยว ซึ่งแปลว่า ส่วนหนึ่งในสี่ของเฟื้อง
7. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “หิ้วหีด” คือ ผู้เป็นหัวหน้าในพิธีต่างๆ
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กฤดาธิการ” โครงการวิจัยการปริวรรตฯ แปลว่า บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ ส่วนการอ่านโดย ฉ่ำ ทองคำวรรณ ระบุว่าคำดังกล่าวในประโยคนี้หมายถึง กระทำ 9. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “เถิง” = ถึง
10. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ท้าวจตุโลกบาล คือ ผู้รักษาโลกใน 4 ทิศ คือ (1) ท้าวธตรฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก (2) ท้าววิรุฬหก จอมเทวา อยู่ทิศใต้ (3) ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก (4) ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “บำนัก” = พำนัก
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โหด” โครงการวิจัยการปริวรรตฯ ให้ความหมายเป็น “หด” คือ หดหาย ส่วน ฉ่ำ ทองคำวรรณ แปลว่า ชั่ว
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ภุชค” หรือ ภุชงค์ แปลว่า งู, นาค
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “อา” หมายถึง อาผู้หญิง ส่วน “อาว” คือ อาผู้ชาย
15. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “หลีด” ตรงกับลืด คือ เหลนของเหลน ส่วน “หลี้” ตรงกับ ลื่อ คือ ลูกของเหลน
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “จักราพาฬ” = จักรวาล
17. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “อากาศเทพดา” คือ เทวดารักษาอากาศ, “รุกขเทพดา” คือ เทวดารักษาต้นไม้, ภุมเทพดา คือ เทวดาพวกหนึ่งที่สิงสถิตอยู่บนพื้นดิน, “ปัพพตเทพดา” คือ เทวดาผู้รักษาภูเขา
18. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ลวง” หมายถึง ด้าน, ทิศ, ทาง เช่น ลวงกว้าง = ด้านกว้าง, ลวงรี = ด้านยาว
19. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “ภวัคคพรหม” คือ พรหมชั้นสูง