โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 17:13:31 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีเกิด 4 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
209 วัดศรีเกิด, ชม. 129 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2467 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
มีอักษรจารึก 2 บรรทัด รอบฐานพระพุทธรูป |
วัตถุจารึก |
สำริด |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร |
ขนาดวัตถุ |
สูง 130 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 129” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑ์วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 179-180. |
ประวัติ |
จารึกนี้อยู่รอบฐานพระพุทธรูปสำริด ปางอุ้มบาตร จำนวน 2 บรรทัด ข้อมูลจาก ดร.ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) ระบุว่า พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดศรีเกิด กล่าวว่านางคำใส แต่ย่งฮวด เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ถวายแด่วัดศรีเกิด โดยสร้างให้น้ำหนักขององค์พระเท่ากับน้ำหนักของตนเอง ปัจจุบัน ภายในวิหารวัดศรีเกิด ยังมีภาพถ่ายของนางคำใส โดยระบุนามว่า แม่คำใส แต่ย่งฮวด (จุลาสัย) รวมถึงวันเดือนปีที่เสียชีวิต คือ เดือนมกราคม พ.ศ. 2476 เมื่ออายุได้ 73 ปี |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการหล่อและสมโภชพระพุทธรูปองค์นี้ใน พ.ศ. 2476 โดยระบุนามผู้สร้างและน้ำหนักขององค์พระรวมถึงฤกษ์อย่างละเอียด |
ผู้สร้าง |
นางคำใส แต่ย่งฮวดและลูกทุกคน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1286 ตรงกับ พ.ศ. 2467 ในรัชกาล พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |