จารึกบนแผ่นไม้วัดพระสิงห์

จารึก

จารึกบนแผ่นไม้วัดพระสิงห์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2558 13:59:02 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 07:13:12 )

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นไม้วัดพระสิงห์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 40, ชม. 40 จารึกบนแผ่นไม้วัดพระสิงห์, 1.2.2.1 วัดเจดีย์หลวง พ.ศ. 2348, ชม. 40 จารึกพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง พ.ศ. 2347

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2347

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 25 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 40 จารึกบนแผ่นไม้วัดพระสิงห์”
2) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 กำหนดเป็น “1.2.2.1 วัดเจดีย์หลวง พ.ศ. 2348”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 40 จารึกพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง พ.ศ. 2347”

สถานที่พบ

วัดพระสิงห์ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 119-137.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 136-140.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกระบุว่า ปี พ.ศ. 2347 พระเจ้าบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์องค์อินทสุรศักดิ์ (พระเจ้ากาวิละ) พร้อมด้วยพระราชบุตรและพระอัครราชเทวี มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้บัญชาให้พระมหาวงศ์ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าสลักพระพุทธรูปจำนวน 289 องค์ลงบนงาทั้งสองข้างของมหานาคราชพลายซึ่งเพิ่งล้มไป แล้วประดับด้วยทองคำและอัญมณีอย่างงดงามเพื่อใว้เป็นที่สักการะบูชา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากปีที่ปรากฏในจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 2 คือ “ประมาณศักราชได้ 1166” ตรงกับ พ.ศ. 2347 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ (ครองราชย์ พ.ศ. 2325-2356)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 40 จารึกพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง พ.ศ. 2347,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 136-140.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)