จารึกวัดป่าเหียง

จารึก

จารึกวัดป่าเหียง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 17:20:40 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่าเหียง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 5, ศิลาจารึกวัดศรีอุโมงคำ ชร./16 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย, พย. 5 จารึกวัดป่าเหียง พ.ศ. 2026,

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2026

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 30 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 33.5 ซม. สูง 110 ซม. สูง 33.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 5”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2518) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดศรีอุโมงคำ ชร./16 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย“
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 5 จารึกวัดป่าเหียง พ.ศ. 2026”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 5 จารึกวัดป่าเหียง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดสันป่าเหียง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว (ข้อมูลเดิมคือ วัดป่าเหียง ตำบลดงเจน อำเภอเมือง) จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2518) : 110-112.
2) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 109-110.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 99-104.

ประวัติ

คณะกรรมการค้นคว้าประวัติศาสตร์แห่งสหภาพพม่าให้สำเนาจารึกแก่กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และเจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางไปทำการสำรวจและอัดสำเนาจารึกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2513

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความชำรุดในบางส่วน จับความได้ว่ากล่าวถึงการมอบหมายให้ข้าพระดูแลพระสงฆ์และวัด ด้านที่ 2 กล่าวถึงการฝังจารึกด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 845 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2026 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าติโลกราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 5 จารึกวัดป่าเหียง พ.ศ. 2026,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 109-110.
2) เทิม มีเต็ม, “คำอ่านศิลาจารึกวัดศรีอุโมงคำ ชร./16 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย,” ศิลปากร 9, 2 (กรกฎาคม 2518) : 110-112.
3) เทิม มีเต็ม, “พย. 5 จารึกวัดป่าเหียง,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 99-104.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-23, ไฟล์; PY 5 side 1+.copy 1 และ PY 5 side 2.copy 1)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566