จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)

จารึก

จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 14:06:08 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 14 จารึกพระพุทธรูปแข้งคม, ชม. 14 จารึกวัดศรีเกิด พ.ศ. 2352

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2352

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 37 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 37 ซม. สูง 69 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 14 จารึกพระพุทธรูปแข้งคม”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2513) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 14 จารึกวัดศรีเกิด พ.ศ. 2352”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2513) : 99-106.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 45-49.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการจัดพิธีฉลองพระพุทธรูปแข้งคม วัดป่าตาล โดยมีพระมหาสมเด็จปวัตตหลวงโพธิรุกขาพิชาราม หรือ นนทาวิริยวังโส เป็นประธานในพิธี และสาธุเจ้ากาวีรปัญโญชติลวังโสเป็นศาสนูปถัมภก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 8 ระบุ จ.ศ. 1171 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2352 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าบรมราชาธิบดี (กาวิละ) ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2324-2358)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 14 จารึกวัดศรีเกิด พ.ศ. 2352,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 45-49.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย,” ศิลปากร 14, 2 (กรกฎาคม 2513) : 99-106.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-33, ไฟล์; ChM_1401_c และ ChM_1402_c)