จารึกวัดปราสาท

จารึก

จารึกวัดปราสาท

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2566 15:55:36 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดปราสาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 3, จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039), หลักที่ 69 ศิลาจารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039), ชร. 3 จารึกวัดปราสาท พ.ศ. 2039, 1.4.1.1 วัดปราสาท พ.ศ. 2039, ชร. 3

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2039

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 28 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 17 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 37 ซม. สูง 121 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 3”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “ชร./4”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 (2481) กำหนดเป็น “จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039)”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 69 ศิลาจารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039)”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 3 จารึกวัดปราสาท พ.ศ. 2039”
6) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 กำหนดเป็น “1.4.1.1 วัดปราสาท พ.ศ. 2039”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดปราสาท ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 (2481) : 35-42.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 174-178.
3) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 6-8.
4) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 77-90.

ประวัติ

“วัดปราสาท” คงตั้งอยู่ในเขตกำแพงเวียงเชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย ปัจจุบันนี้ ภายในเวียงเชียงแสนมีซากวัดปราสาท 2 แห่ง คือ วัดปราสาทประตู และ วัดปราสาทคุ้ม ไม่ทราบว่าศิลาจารึกมาจากวัดปราสาทใด

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2039 เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้าน ถวายวัดปราสาทแด่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชมารดา ทั้ง 2 พระองค์ทรงส่งตราหลาบคำ อุทิศนาและคนแก่วัด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ระบุ จ.ศ. 858 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2039 อันเป็นต้นรัชสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 3 จารึกวัดปราสาท พ.ศ. 2039,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 6-8.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039),” ศิลปากร 2, 5 (2481) : 35-42.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 69 ศิลาจารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 174-178.
4) ฮันส์ เพนธ์, “1.4.1.1 วัดปราสาท พ.ศ. 2039,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 77-90.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_0301_p1 และ ChR_0302_p)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2557
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566