จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดปราสาท

จารึก

จารึกวัดปราสาท ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลา 21:45:03

ชื่อจารึก

จารึกวัดปราสาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 3, จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039), หลักที่ 69 ศิลาจารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย จ.ศ. 858 (พ.ศ. 2039), ชร. 3 จารึกวัดปราสาท พ.ศ. 2039, 1.4.1.1 วัดปราสาท พ.ศ. 2039, ชร. 3

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2039

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 28 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 17 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2481)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2481)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : โอกาส, โอกาสะ = คำขึ้นต้นแบบเดียวกับ สวัสดี
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : อาคม = การมาถึง
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : วิวิธ = ต่างๆ, หลายอย่าง
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : วิจิตร = สวย, งาม
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : โภชาภิภุญชมาน = มีอาหารควรบริโภคจำนวนมาก
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : จุง, จุ่ง = จง, จึง
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : เท่าวัน = ตราบเท่าวัน, จนกระทั่งถึงวันสิ้นศาสนา
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักราชได้ 858 ตัว = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2039
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปลาย = เศษ, กว่า
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : บ่มัว = ชัดเจน, ไม่มีสิ่งอื่นมาปะปน (ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่าน “บ่มั่ว”)
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : หรคุณ = จำนวนวันที่ล่วงมา นับตั้งแต่วันตั้งจุลศักราช
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : วันบสูญ, วันบ่สูญ = วันไม่เสีย คือ วันดี
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : วันปลอด = วันที่ไม่มีสิ่งเลวร้ายมาเจือปน ปราศจากทุกข์ภัย
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : รอด = ถึง
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีระวายสี = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีจอ อัฐศก ตามจุลศักราช
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดือนสิบเอ็ด, เดินสิบเอ็ด = เดือน 11 ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 9 ภาคกลาง
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
18. โครงการวิจัยฯ (2534) : พร่ำ = ตรงกับ
19. โครงการวิจัยฯ (2534) : ดับไส้ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
20. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็งได้ชื่อวันจันทร์ = มอญเรียกว่า วันจันทร์
21. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าหมื่น = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือกว่าตำแหน่งพันขึ้นไป
22. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้
23. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมือ = ไป, กลับ
24. โครงการวิจัยฯ (2534) : เถิง = ถึง
25. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าพัน = ชื่อตำแหน่งข้าราชการ เหนือนายร้อย
26. โครงการวิจัยฯ (2534) : ต่าง = ทูน หรือ เทิน, ตั้งไว้บน
27. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปลงอาชญา = มีคำสั่ง, มีพระราชโองการ
28. โครงการวิจัยฯ (2534) : คำ = ทองคำ
29. โครงการวิจัยฯ (2534) : ยี, ยี่ = ลูกชายคนที่ 2, พี่ชายคนที่ 2
30. โครงการวิจัยฯ (2534) : สัต = ดี, งาม
31. โครงการวิจัยฯ (2534) : ไตรสรณ์ = ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
32. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิง = เมือง