จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 27 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2124, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า-สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดเชียงมั่น เชียงใหม่, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างกำแพง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พญามังราย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองพะเยา-พ่อขุนงำเมือง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, บุคคล-พญามังราย, บุคคล-พ่อขุนงำเมือง, บุคคล-พ่อขุนรามคำแหงมหาราช,

จารึกวัดเชียงมั่น

จารึก

จารึกวัดเชียงมั่น

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 15:36:42 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดเชียงมั่น

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ. 943 (พ.ศ. 2124), หลักที่ 76 ศิลาจารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่, ชม. 1 จารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 2124

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2124

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 70 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 34 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 36 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 59 ซม. สูง 154 ซม. หนา 21 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 1 จารึกวัดเชียงมั่น”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2505) กำหนดเป็น “จารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ. 943 (พ.ศ. 2124)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 76 ศิลาจารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 1 จารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 2124”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2505) : 61-70.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 210-218.
3) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 2-10.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติการก่อสร้างวัดเชียงมั่น ตั้งแต่ พ.ศ. 1839 จนถึง พ.ศ. 2124 กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 1839 พญามังรายเจ้า พญางำเมือง และพญาร่วงร่วมกันตั้งหอนอน ณ ราชมณเทียร ขุดคู ก่อกำแพงสามชั้น ทั้ง 4 ด้านและก่อพระเจดีย์ที่บ้านเชียงมั่น แล้วสร้างเป็นวัด ให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่น ครั้นปี พ.ศ. 2014 พระดิลกราชเจ้า (พระเจ้าติโลกราช)ได้ทรงก่อพระเจดีย์ด้วยหินแลง, พ.ศ. 2101 สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าทรงพระราชทานอ่างอาบเงิน และ พ.ศ. 2114 ได้ก่อเจดีย์คร่อมเจดีย์เดิมอีกครั้งหนึ่งมีการสร้างแปลงก่อเจดีย์วิหารอุโบสถ สร้างธรรมเสนาสนะ กำแพง ประตูจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2124 ได้มีการรวบรวมเงิน ที่ดิน และข้าพระจำนวนมากอุทิศแก่อารามแห่งนี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 15 ระบุ จ.ศ. 943 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2124 อันเป็นสมัยที่สาวถีนรตรามังซอศรีมังนรธาช่อปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2122-2150)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 1 จารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 2124,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 2-10.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ. 943 (พ.ศ. 2124),” ศิลปากร 6, 3 (2505) : 61-70.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 76 ศิลาจารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ. 943 (พ.ศ. 2124),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 210-218.
5) สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2544), 254.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-32, ไฟล์; ChM_0101_c และ ChM_0102_c)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566