จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดเชียงมั่น

จารึก

จารึกวัดเชียงมั่น ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2564 20:29:30

ชื่อจารึก

จารึกวัดเชียงมั่น

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ จ.ศ. 943 (พ.ศ. 2124), หลักที่ 76 ศิลาจารึก วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่, ชม. 1 จารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 2124

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2124

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 70 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 34 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 36 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2505)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2505)
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2551)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 658 = พ.ศ. 1839
2. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีรวายสัน, ปีระวายสัน = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีวอก อัฐศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
3. นวพรรณ ภัทรมูล : เดือนวิสาขะ = เดือน 6 ภาคกลาง (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ออก = ข้างขึ้น
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : วัน 5 = วันพฤหัสบดี
6. นวพรรณ ภัทรมูล : เมิงเปล้า, เมิงเป้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ยามแตรรุ่ง = ยามเช้ามืด
8. นวพรรณ ภัทรมูล : ปลาย = เศษ, กว่า (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
9. นวพรรณ ภัทรมูล : นวางค์ = ท้องฟ้าแบ่งออกเป็น 12 ราศี ราศีหนึ่ง มี 30 องศา แบ่งราศี ออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน หรือเป็น 9 นวางค์ (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
10. นวพรรณ ภัทรมูล : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์ (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คือ = คู
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ตรีบูร = กำแพงสามชั้น
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทัดที่ = ใช้ในความว่า ตรงที่
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ลวด = เลย
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้, หื้อทาน = ให้ทาน คือ ถวาย
16. นวพรรณ ภัทรมูล : เถิง = ถึง (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
17. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีรวงเม้า, รวงเหม้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีเถาะ ตรีศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 833 = พ.ศ. 2014
19. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีเปลิกสง้า, เปิกซง้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
20. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 920 = พ.ศ. 2101
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พันน้ำ = น้ำหนัก 1 ชั่ง
22. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีดับเปล้า, ปีดับเป้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีฉลู สัปตศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
23. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 927 = พ.ศ. 2108
24. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีรวงเม็ด = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะแม ตรีศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
25. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 933 = พ.ศ. 2114
26. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กวม = คร่อม
27. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปีฎกฆระ = เรือนปิฎก คือ หอไตร
28. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ขรง = ข่วง คือ บริเวณ
29. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ชู่ = ทุก
30. นวพรรณ ภัทรมูล : ปีรวงไส้ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะเส็ง ตรีศก ตามจุลศักราช (ดูคำอธิบายความหมายจาก ศัพทานุกรมท้ายเล่ม จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1)
31. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 943 = พ.ศ. 2124
32. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : รอม = รวม
33. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไผ = เผย คือ บอก
34. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นัย = วิธีการต่างๆ
35. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ห้อง = เขต
36. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ขนาน = หนาน คือ ทิดที่สึกจากพระ