จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2039, อายุ-จารึก พ.ศ. 2040, อายุ-จารึก พ.ศ. 2041, อายุ-จารึก พ.ศ. 2039-2041, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงราย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, บุคคล-มหาเถรมงคลผะหญาเจ้า, บุคคล-เจ้าแสนกัลยาณ,

จารึกวัดดุสิตาอาราม

จารึก

จารึกวัดดุสิตาอาราม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 14:02:44 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดดุสิตาอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 63 จารึกวัดดุสิตาราม พ.ศ. 2039-2041, ชร. 63

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2039-2041

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 25 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 14 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 39 ซม. สูง 120 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 63”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 63 จารึกวัดดุสิตาราม พ.ศ. 2039-2041”
2) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “ชร. 63 จารึกวัดดุสิตาอาราม”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2527

สถานที่พบ

วัดร้างแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันวัดร้างแห่งนี้เป็นที่นาของชาวบ้าน) มีชื่อตามในจารึกนี้ว่า “วัดดุสิตาอาราม” อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ชาวบ้าน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

ปัจจุบันอยู่ที่

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 50-51.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 184-189.

ประวัติ

ชาวบ้านค้นพบได้ขณะที่กำลังปรับไถพื้นที่นา ต่อมานำมามอบไว้ให้ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงราย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 (สัมภาษณ์ อ. ทรงพันธ์ วรรณมาศ ผอ. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงราย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2530-เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ)

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2039-2041 มหาเถรมงคลผะหญาเจ้าได้สร้างอารามชื่อ ดุสิตาอาราม และถวายแก่เจ้าแสนกัลยาณ และเจ้าแสนกัลยาณได้ประทานพระพุทธรูปหนึ่งองค์ เงินและทองจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งแต่งตั้งข้าพระให้อยู่ดูแลอารามแห่งนี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ในวงดวงชาตา ด้านที่ 1 ระบุ จ.ศ. 858 และ จ.ศ. 860 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2039 และ พ.ศ. 2041 อันเป็นสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ, “ชร. 63 จารึกวัดดุสิตาอาราม,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 184-189.
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 63 จารึกวัดดุสิตาราม พ.ศ. 2039-2041,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 50-51.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_6301_p) และ ChR_6302_p)