จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 11:09:53 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 15 จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท พ.ศ. 2024, ชร. 15

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2024

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 15”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 15 จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท พ.ศ. 2024”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 30-31.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความสี่บรรทัดแรกเป็นภาษาบาลี ว่าด้วยคาถาบทพุทธคุณ และบทปัจจยาการ บรรทัดสุดท้ายกล่าวถึงบุคคลชื่อ เจ้าวิเชียร ผู้สร้างพระพุทธรูป

ผู้สร้าง

เจ้าวิเชียร

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 5 ระบุ จ.ศ. 843 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2024 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าติโลกราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 15 จารึกฐานพระพุทธรูปปางประทับรอยพระบาท พ.ศ. 2024,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 30-31.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_1500_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564

สรุปสาระสำคัญ

ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พระพุทธรูปปางกดรอยพระบาท https://db.sac.or.th/seaarts/artwork/401