จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 21 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2096, อายุ-จารึก พ.ศ. 2097, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้พม่า-พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, วัตถุ-จารึกบนหินทรายสีแดง, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-มหาสามีญาณคัมภีระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา,

จารึกวัดเชียงสา

จารึก

จารึกวัดเชียงสา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2557 14:13:56 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 14:18:20 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดเชียงสา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 7 จารึกกษัตริย์ล้านช้างล้านนา, 1.4.1.1 วัดเชียงสา พ.ศ. 2097, ชม. 7 จารึกวัดเชียงสา พ.ศ. 2096

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2096

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 26 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 9 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 50 ซม. สูง 128 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 7 จารึกกษัตริย์ล้านช้างล้านนา”
2) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 กำหนดเป็น “1.4.1.1 วัดเชียงสา พ.ศ. 2097”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 7 จารึกวัดเชียงสา พ.ศ. 2096”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พุทธสถานเชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543), 215-235.
2) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 25-28.

ประวัติ

ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 ระบุไว้ว่า ประมาณ พ.ศ. 2483 ทหารไทยได้พบศิลาจารึกหลักนี้ที่บ้านห้วยทราย ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ประเทศลาว ตรงข้ามกับเมืองเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในปีเดียวกัน ทหารไทยได้นำไปไว้ที่ค่ายทหาร จังหวัดลำปาง จากนั้น พ.ศ. 2495 ค่ายทหาร จังหวัดลำปาง ได้มอบให้พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. 2514 ทางพุทธสถานได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 พ.ศ. 2543 และพิมพ์ครั้งต่อมาในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

เมื่อ พ.ศ. 2096 สมเด็จพระบรมบพิตรองค์เสวยราชย์ทั้ง 2 แผ่นดินล้านช้าง-ล้านนา ได้ถวายที่ดินและข้าวัดแด่วัดเชียงสา ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนากำหนดศักราชจากข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ที่ระบุว่า “ศุภมัสตุ ศักราชได้ 915 ตัว” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2096 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2094-2101)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 7 จารึกวัดเชียงสา พ.ศ. 2096,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 25-28.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) ฮันส์ เพนธ์, “1.4.1.1 วัดเชียงสา พ.ศ. 2097,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงใหม่ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543), 215-235.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-32, ไฟล์; ChM_0701_p และ ChM_0702_p)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28-31 มีนาคม 2561
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566