จารึกเรื่องนิรยกถา แผ่นที่ 4

จารึก

จารึกเรื่องนิรยกถา แผ่นที่ 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2556 15:08:13 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2566 17:50:01 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องนิรยกถา แผ่นที่ 4

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2381

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน จำนวน 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีดำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

เสาในพระประธานมุขหลัง ศาลาการเปรียญ (โบสถ์เก่า) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 219.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 221.

ประวัติ

จารึกเรื่องนิรยกถา ติดอยู่ที่เสาในประธานมุขหลัง ศาลาการเปรียญ ใน “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” ไม่ได้กล่าวถึงจารึกเรื่องนิรยกถา กล่าวถึงเพียงเรื่องเปรตกถา แต่เมื่อพิจารณาจากรูปอักษรและลายสลักที่กรอบจารึกแล้ว เห็นว่าน่าจะเป็นจารึกชุดเดียวกัน นอกจากนั้น ในจารึกเรื่องนิรยกถา แผ่นที่ 1 บรรทัดที่ 1-3 ได้ระบุถึงพระราชโองการที่ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตจัดการให้ช่างจารึกเรื่องนิรยกถา และเปรตกถา ไว้ที่คอ 2 มุขหน้าและมุขหลังของศาลาการเปรียญอีกด้วย
ปัจจุบันจารึกนึ้ยังอยู่ที่เสาในประธานมุขหลัง ศาลาการเปรียญ หรือที่เรียกว่า “โบสถ์เก่า” ดังเดิม

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องราวในจารึกแผ่นนี้กล่าวถึง สภาพของสัตว์นรกหรือคนบาปที่จะถูกลงโทษอย่างทุกข์ทรมานด้วยวิธีการต่างๆ ตามผลกรรมที่กระทำมา ได้แก่ บุคคลที่ฆ่าสัตว์ไม่ว่าจะฆ่าด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นฆ่า เมื่อตายไปแล้วจะไปเกิดในสัญชีวนรก โดนนายนิริยบาลแล่เนื้อให้เหลือแต่กระดูก ปล่อยให้ร้องครวญครางจนตายในนรก แล้วจะมีลมพัดให้ฟื้นขึ้นมาได้อีก และจะโดนแล่เนื้ออีก เสวยทุกขเวทนาเช่นนี้ซ้ำๆ สืบไป
อีกบุคคลผู้มีใจบาป มัดสัตว์ด้วยเชือกแล้วฆ่าเสีย เมื่อตายจะได้ไปเกิดในกาลสูตนรก โดนนายนิริยบาลเอาสายบรรทัดดีดร่างให้แตกออก หรือบางทีนายนิริยบาลก็จับมัดแล้วถากเนื้อตัวด้วยพร้าเหมือนถากไม้

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากข้อความในจารึก แผ่นที่ 1 บรรทัดที่ 1 ที่ว่า “วันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 จุลศักราช 1200 ปีจอ สัมฤทธิศก” โดยนำเลขจุลศักราช บวกด้วยเลข 1181 จะได้เท่ากับ 2381 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) (พ.ศ. 2367-2394)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “จารึกเรื่องนิรยกถา ศาลาการเปรียญ (จารึกติดไว้ที่เสาในประธานมุขหลังสิลาจารึกยังอยู่),” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 219-226.
3) “นิรยกถา ศาลาการเปรียญ (จารึกติดไว้ที่เสาในประธานมุขหลังสิลาจารึกยังอยู่),” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 217-229.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550