จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ หอที่ 11 แผ่นที่ 2

จารึก

จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ หอที่ 11 แผ่นที่ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2556 15:22:32 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 14:22:27 )

ชื่อจารึก

จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ หอที่ 11 แผ่นที่ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกที่เสาหอระฆัง พระปฐมเจดีย์ 42

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43.5 ซม. ยาว 22.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ กำหนดเป็น “ขท. 3”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

หอระฆัง หอที่ 11 (นับจากวิหารตะวันออกเวียนขวากับองค์พระเจดีย์) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอระฆัง หอที่ 11 (นับจากวิหารตะวันออกเวียนขวากับองค์พระเจดีย์) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

พิมพ์เผยแพร่

จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, 2528), 259-273.

ประวัติ

หอระฆังบริเวณระเบียงพระปฐมเจดีย์มีจำนวน 24 หอ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัย ร. 4 โดยแล้วเสร็จในสมัย ร. 5 ต่อมาในสมัย ร. 6 มีการซ่อมแซมเนื่องจากชำรุดทรุดโทรมลงมาก จารึกที่เสาหอระฆังทุกหอนั้น มีจารึก 1 แผ่น ในทุกเสาของหอระฆัง ดังนั้น ใน 1 หอ จึงมีจารึกจำนวน 4 แผ่น ทุกแผ่นมีข้อความ 6 บรรทัด 2 บรรทัดแรกเป็นภาษาบาลี อีก 4 บรรทัดเป็นคำแปลของภาษาบาลี ในทุกๆ หอระฆังนั้น จารึก 3 แผ่นแรก จะมีท่อนบนเป็นจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี ท่อนล่างเป็นโคลงไทย โคลง 4 สุภาพ ซึ่งเป็นคำแปลของภาษาบาลีท่อนบน ส่วนจารึกแผ่นที่ 4 ของหอระฆังแต่ละหลังนั้น จะมีท่อนแรกเป็นจารึกภาษาบาลีและท่อนล่างเป็นภาษาไทยเหมือนแผ่นที่ 1-3 แต่จะจารด้วยอักษรมอญ ธรรมอีสาน หรือไทยน้อย คละกันไป

เนื้อหาโดยสังเขป

การอนุโมทนาต่อการที่ผู้คนบูชาสถูปนี้ อันถือเป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ตามประวัติการสร้างหอระฆังซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 6 ดังนั้น จารึกนี้จึงน่าจะถูกสร้างขึ้นภายในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2548) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2550), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
เจษฎ์ ปรีชานนท์, “จารึกที่หอระฆัง ณ ระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์,” จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, 2528), 259-273.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 18-19 กันยายน 2556