จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดตาเถรขึงหนัง

จารึก

จารึกวัดตาเถรขึงหนัง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 15:04:41 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดตาเถรขึงหนัง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 8 ค., หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง, ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947, สท. 16

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1947

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 68 ซม. สูง 72 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 16”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 8 ค.”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง”
4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/35/2560”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2499

สถานที่พบ

วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (ชื่อเดิมคือ วัดตาเถรขึงหนัง) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี (ครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์ พระนคร กองโบราณคดี กรมศิลปากร)

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 70-74.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 356-360.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ชำรุด ส่วนล่างหักหายไป จารึกอักษร 1 ด้าน รูปอักษรที่ปรากฏมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ บรรทัดที่ 1 ถึง 2 จารึกอักษรขอม ภาษาบาลี บรรทัดที่ 3 ถึง 15 จารึกอักษร ภาษาไทย จารึกเมื่อปี พ.ศ. 1947

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องราวที่จารึกในส่วนภาษาบาลี เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย และคำไหว้อาจารย์ ส่วนจารึกภาษาไทย ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตลอดถึงการอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้าง “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” และสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา ปลูกพระศรีมหาโพธิ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึก บรรทัดที่ 17 ระบุ จ.ศ. 766 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1947

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช 1947,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 356-360.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 46 ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 70-74.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566