จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1590, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2,

จารึกวัดสุปัฏนาราม 3

จารึก

จารึกวัดสุปัฏนาราม 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 12:17:09 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดสุปัฏนาราม 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อบ. 6

อักษรที่มีในจารึก

เทวนาครี

ศักราช

พุทธศักราช 1590

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 106 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 27 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 22 บรรทัด, ด้านที่ 3 มี 30 บรรทัด, ด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 24 ซม. สูง 68.5 ซม. หนา 24 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 6”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2537) กำหนดเป็น “จารึกวัดสุปัฏนาราม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดสุปัฏนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอศิลปวัฒนธรรมวัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูลวันที่ 4 มีนาคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2537) : 96-109.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ ไม่มีหลักฐานความเป็นมาว่า พบครั้งแรก ณ สถานที่ใด แต่ทะเบียนประวัติจารึกบอกว่า “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เป็นผู้รวบรวมจารึกต่างๆ จากสถานที่หลายแห่งมาเก็บไว้ที่วัดสุปัฏนาราม” ฉะนั้น จารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็คงเก็บมาจากที่อื่นเช่นกัน แต่ไม่มีหลักฐานระบุชัดเจนว่า ได้นำมาจากสถานที่แห่งใด ทะเบียนจารึกยังบันทึกไว้ว่า “ทางราชการได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 ก.ย. 79) หลักศิลาจารึกชำรุด แตกหักไปส่วนหนึ่ง อักษรจารึกเท่าที่ปรากฏจึงเป็นจำนวนน้อย จับใจความสำคัญไม่ได้ โดยเฉพาะไม่อาจทราบได้ว่าด้านใดเป็นด้านที่หนึ่ง อันเป็นข้อความเริ่มต้นของหลักจารึก แม้ได้พิจารณาคำแปลข้อความของจารึกแล้ว ก็ไม่อาจจัดเรียงลำดับด้านของจารึกได้ ดังนั้นจึงอาศัยความสมบูรณ์ของรูปอักษรในด้านจารึกกับข้อความที่เป็นภาษาเขมร คือด้านที่มีศักราช จัดให้เป็นด้านที่หนึ่ง

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาในจารึกเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษ โดยจารึกด้านที่หนึ่งกล่าวถึงประวัติของราเชนทรบัณฑิต หรือพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 จารึกด้านที่สองกล่าวพระราชภารกิจของพระราชาและพระมเหสีในการดูแลเทวรูปและเทวสถาน จารึกด้านที่สามและด้านที่สี่ชำรุด จับใจความไม่ได้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 ระบุศักราช 969 ตรงกับ พ.ศ. 1590 อันเป็นสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกวัดสุปัฎนาราม อบ. 6,” ศิลปากร 37, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2537) : 96-109.