จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท 1

จารึก

จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2566 20:53:23 )

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2403

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 34 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 55 ซม. สูง 75 ซม. หนา 2.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สบ. 3”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 140 จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งพระพุทธบาท สระบุรี ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 24-26.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 140 จารึกบนแผ่นหินอ่อนในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท”

เนื้อหาโดยสังเขป

(1) กล่าวย้อนไปถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2370 ซึ่งเจ้าฟ้ามงกุฏทรงอัญเชิญพระพุทธรูปจากกรุงเทพมหานครมาประดิษฐาน ณ ถ้ำวิมานจักรี เพื่อให้ผู้คนได้นมัสการ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “จารึกถ้ำวิมานจักรี”)
(2) หลังจากเจ้าฟ้ามงกุฏทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 ได้ทรงสร้างและซ่อมแซมวัดทั้งในและนอกกรุงเทพมหานคร รวมถึงพระพุทธรูปในถ้ำวิมานจักรี โดยโปรดให้ทำแท่นหินแทนของเดิมซึ่งเป็นแท่นปูน แล้วเสด็จมาปิดทองใน พ.ศ. 2403

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. 2403 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) (ครองราชย์ พ.ศ. 2393-2411)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 140 จารึกบนแผ่นหินอ่อนในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 24-26.