จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 15 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2408, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อนสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร นครปฐม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-เย ธมฺมาฯ, เรื่อง-เวทมนตร์คาถาในพระพุทธศาสนา-ปฏิจจสมุปบาท, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4,

จารึกที่ศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์

จารึก

จารึกที่ศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 16:05:09 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนแผ่นศิลาที่ศาลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์, หลักที่ 192 จารึกบนหินอ่อน, นฐ. 11

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2408

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีดำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 75 ซม. สูง 55 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นฐ. 11”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 กำหนดเป็น “จารึกบนแผ่นศิลาที่ศาลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 192 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บริเวณพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2504), 43-45.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 4-8.
3) จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, 2528), 241-257.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2504 เรียกว่า “จารึกบนแผ่นศิลาที่ศาลาในบริเวณพระปฐมเจดีย์” ต่อมาตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 อ่านโดย นายประสาร บุญประคอง ชื่อว่า “หลักที่ 192 จารึกบนหินอ่อน” และมีการตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2528 ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์โดย นายเจษฏ์ ปรีชานนท์ เรียกว่า “จารึกพระบรมราชาธิบาย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เพราะเข้าใจว่าเป็นจารึกของพระองค์ โดยอ้างอิงมาจาก ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 แต่ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 เล่มที่เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขใหม่) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 แต่อย่างใด อนึ่ง จารึกหลักนี้เป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเข้าพระทัยว่า พระปฐมเจดีย์เป็นสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 218 เมื่อครั้งที่พระโสณะและพระอุตระ เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงความเป็นมา คุณค่า และความหมายของจารึกคาถาเยธมฺมา ตอนท้ายเป็นข้อความว่าด้วยเรื่องปฏิจจสมุปบาท

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏในจารึกความว่า “..ประกาศให้ไว้เมื่อพุทธศักราช 2408..” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) เจษฎ์ ปรีชานนท์, “จารึกที่วิหารพระพุทธไสยาสน์ในเก๋งจีนระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร,” ใน จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพฯ : จุฑารัตน์การพิมพ์, 2528), 241-257.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 192 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 4-8.
3) ยอร์ช เซเดส์ “จารึกบนแผ่นศิลาที่ศาลา ในบริเวณพระปฐมเจดีย์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie : inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo ([กรุงเทพฯ] : กรมศิลปากร, 2504), 43-45.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 18 กันยายน 2556