จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด

จารึก

จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 15:20:11 )

ชื่อจารึก

จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 15, หลักที่ 8 ข. จารึกวัดพระมหาธาตุ, หลักที่ 45 ศิลาจารึกภาษาไทย จ.ศ. 754 (พ.ศ. 1935), ศิลาจารึกปู่ขุดจิดขุนจอด พุทธศักราช 1935

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1935

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 3 ด้าน มี 96 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 37 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 40 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 37 ซม. สูง 83 ซม. หนา 18 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 15”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 8 ข. จารึกวัดพระมหาธาตุ”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 45 ศิลาจารึกภาษาไทย จ.ศ. 754 (พ.ศ. 1935)”
4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกปู่ขุดจิดขุนจอด พุทธศักราช 1935”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2499

สถานที่พบ

ริมเสาเบื้องขวาหน้าวิหารหลวง ด้านหลังวิหารสูง วัดมหาธาตุ สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

หน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2500), 127-140.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 61-69.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 118-127.

ประวัติ

หน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พบเมื่อ พ.ศ. 2499

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความด้านที่ 1 ได้กล่าวถึงการทำสัตย์สาบานระหว่างผู้เป็นใหญ่ในกรุงสุโขทัย ด้านที่ 2 ได้กล่าวถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ ด้านที่ 3 เป็นคำสาปแช่งผู้กระทำผิดคิดคด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 27-28 “จุลศักราชได้ 754 มหาศักราชได้ 1314 ขอมปีวอก…”

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำจารึกวัดพระมหาธาตุ (หลักที่ 8 ข),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : จารึกกรุงสุโขทัย (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2500), 127-140.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 118-127.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 45 ศิลาจารึกภาษาไทย จ.ศ. 754 (พ.ศ. 1935),” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 61-69.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566