จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด

จารึก

จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 15:20:34

ชื่อจารึก

จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 15, หลักที่ 8 ข. จารึกวัดพระมหาธาตุ, หลักที่ 45 ศิลาจารึกภาษาไทย จ.ศ. 754 (พ.ศ. 1935), ศิลาจารึกปู่ขุดจิดขุนจอด พุทธศักราช 1935

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1935

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 3 ด้าน มี 96 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 37 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 40 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 19 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2500), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2500), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2500), (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
3) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “หน” ฝ่าย หรือ ข้าง
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “ปู่” ที่ระบุชื่อบรรพบุรุษต่างๆ ในที่นี้ ใช้แทนคำว่า พ่อ
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “หวาน” น่าจะเป็นหลาน
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ขพง” หรือ “ขพุง” ส่วนเบื้องบนของภูเขา หรือ ที่สูง
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ก้าว” งัด
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เถิงเท่าเป็นเจ้าอยู่ยืน” ถึงแม้ว่าเป็นเจ้าอยู่ยืน
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “หืน” เลย, ทราม หรือ ต่ำช้า
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ดังเครียว” โดยเร็ว
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เขียว” รีบ, “เขียวเห็น” รีบเห็น หรือ พลันเห็น
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “คาบ” ครั้ง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ค” แก่ หรือ กับ
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “จ.ศ. 754” ตรงกับ พ.ศ. 1935
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ม.ศ. 1314” ตรงกับ พ.ศ. 1935
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เต่าสัน” เต่า = นพศกของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับจัตวาศกของไทยฝ่ายใต้ เพราะวิธีนับศกของไทยฝ่ายเหนือน้อยกว่าไทยฝ่ายใต้ 5 ปี เช่น 6 (หรือ ฉ ศก) ของไทยฝ่ายใต้ ตรงกับ 1 (หรือ กาบ เอกศก) ของไทยฝ่ายเหนือ เพราะฉะนั้น จ.ศ. 754 ในจารึกหลักนี้ ไทยฝ่ายเหนือจึงอ่านว่า เต่า, สัน ตรงกับ วอก, เต่าสัน ตรงกับ วอกนพศกของไทยฝ่ายเหนือ แต่ตรงกับวอกจัตวาศกของไทยฝ่ายใต้
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เต่าเม็ด” ตรงกับชื่อศกและชื่อปีของไทยฝ่ายเหนือ แต่ในที่นี้เป็นชื่อของวันไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งเอาศก 10 ศก ที่เรียกว่าแม่วันไทย หรือ แม่มื้อ และเอาปี 12 นักษัตรที่เรียกว่าลูกวันไทย หรือ ลูกมื้อ มาใช้เป็นวันเรียกว่าวันไทย หรือ มื้อ
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “อุตรผลคุน” หรือ “อุตรผลคุนี” เป็นชื่อดาวฤกษ์ที่ 12 ได้แก่ ดาวเพดานตอนหลัง
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “นีรพิฆนันตราย” ปราศจากอุปสรรคและอันตราย