อายุ-จารึก พ.ศ. 1534, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกที่หน่วยศิลปากรที่ 6 นครราชสีมา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างกำแพง, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:53:31 )
ชื่อจารึก |
จารึกเกษตรสมบูรณ์ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ชย. 5, จารึกเกษตรสมบูรณ์, K. 965 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1534 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
ใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 87 ซม. สูง 193 ซม. หนา 55 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชย. 5” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
หน้าที่ว่าการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ |
ผู้พบ |
หน่วยศิลปากรที่ 6 |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (สำรวจข้อมูลเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2537) : 59-65. |
ประวัติ |
ในทะเบียนประวัติจารึก มีหมายเหตุว่า “จารึกหลักนี้ นายแทน ธีรพิจิตร หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 (พ.ศ. 2512) ได้ทำสำเนาจารึกส่งมาให้กองหอสมุดแห่งชาติ โดยผ่านทางกองโบราณคดี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2512 ตามบันทึกลงวันที่ 15 ตุลาคม 2512 ที่ 0804/125 หน่วยศิลปากรที่ 6” จากข้อความในหมายเหตุนี้ แสดงให้เห็นว่า จารึกเกษตรสมบูรณ์นี้ ได้พบทีหลังจารึกบ้านหัวขัว เพราะทะเบียนประวัติจารึกบ้านหัวขัวบันทึกว่า “นายแทน ธีรพิจิตร หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 (ในขณะนั้น) ได้จัดทำสำเนาจารึกส่งมาให้กองหอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2511” อย่างไรก็ตาม จารึกทั้งสองหลักนี้ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 คือนายแทน ธีรพิจิตร เป็นผู้จัดทำสำเนา ส่งมาให้กองหอสมุดแห่งชาติ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความของจารึก กล่าวถึงอมรสิงหภิกษุ ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธาน พร้อมทั้งคณะของท่านก็มีความยินดี เข้าใจว่า คงเป็นหน้าที่ในการก่อสร้างอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นพุทธวิหาร พร้อมทั้งกำแพงโดยรอบ เพราะบรรทัดต่อไปกล่าวว่า ผู้มีความปรารถนาอันแรงกล้าได้เข้าถึงสิ่งอันประเสริฐ ที่อยู่ในกำแพง น่าจะหมายถึงพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานอยู่ภายในเขตพุทธาวาส นอกจากนั้นข้อความจารึกบอกถึงความปรารถนาว่า ขอให้ตั้งอยู่ชั่วกาลนาน ด้วยบุญกุศลต่างๆ ซึ่งก็เป็นการสอดคล้องกับข้อความเบื้องต้นที่เป็นการก่อสร้างศาสนสถานเพื่อการกุศล ส่วนในทิศปราจีน คงเป็นสถานที่แสดงธรรมให้ประชาชน ฉะนั้น การก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้ ได้สำเร็จลงเมื่อมหาศักราช 913 |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
เนื่องจากจารึกบรรทัดที่ 7 บอกมหาศักราช 913 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1534 จึงกำหนดได้ว่าจารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 16 (ในบทความเรื่อง “จารึกเกษตรสมบูรณ์” ที่เขียนโดยอาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ได้กำหนดไว้เป็น รูปแบบอักษรเทวนาครีโบราณ แต่ทางคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบอักษรเป็นรูปแบบอักษรขอมโบราณค่อนข้างชัดเจน คือมีศกปรากฏบนอักษรบางตัว เช่น “ธ”, “ว” และ “ศ” คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงได้เปลี่ยนแปลงจากที่กำหนดเป็นรูปแบบอักษรเทวนาครีโบราณ เป็นรูปแบบอักษรขอมโบราณ) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-15, ไฟล์; ChP_001) |